(มีคลิป)เปิดวาร์ป…เครื่องหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยอัจฉริยะ กำหนดอัตราหยอดได้แม่นยำตรงคำแนะนำ

กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวสุดยอดเครื่องหยอดเมล็ดพืชและหยอดปุ๋ยแบบอัตโนมัติพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ ปรับเปลี่ยนอัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยได้แม่นยำตรงตามคำแนะนำเทคโนโลยีการปลูกพืช ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต นำร่องไปสู่เกษตรอัจฉริยะ สอดรับนโยบายดันไทยเป็น Seed Hub

นาย ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนมากเป็นอันดับ1 ซึ่งในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชขั้นตอนการปลูกโดยการหยอดหรือหว่านเมล็ดถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญหากในขั้นตอนการปลูกไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อความงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย  โดยขั้นตอนการปลูกโดยใช้เครื่องหยอดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันสามารถหยอดพืชได้เฉพาะอย่างเท่านั้น เนื่องจากเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีขนาดเมล็ดที่ไม่เท่ากันและมีคำแนะนำอัตราการหยอดที่ไม่เท่ากัน คือ จำนวนเมล็ดต่อหลุม ระยะห่างระหว่างหลุม และระยะห่างระหว่างแถว  

D8049A27 5DF8 4E45 84AF 43971B1BAD83

นอกจากอัตราการหยอดที่ต้องปรับเปลี่ยนตามชนิดของพืชแล้ว ลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่ก็มีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณแร่ธาตุที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หากเกษตรกรสามารถใส่สูตรปุ๋ยให้ปริมาณตรงตามลักษณะของดินและปริมาณแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินตามคำแนะนำการปลูกพืช ก็จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น 

F1063BBF D306 4EF4 815E DA7F6BB13FF4 scaled

อย่างไรก็ตามหากนำเครื่องหยอดเมล็ดพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ให้สามารถหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยให้ได้อัตราที่หลากหลายเพื่อให้ได้อัตราหยอดตามคำแนะนำการปลูกของพืชแต่ละชนิดจำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องหยอดจึงทำให้เกิดความยุ่งยาก รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราการหยอดด้วยวิธีดังกล่าวยังไม่มีความแม่นยำอีกด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้วิจัยจากสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร  จึงมีแนวคิดวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพืชและหยอดปุ๋ยแบบอัตโนมัติสำหรับพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนอัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้ได้ตรงตามคำแนะนำเทคโนโลยีการปลูกพืช ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว โดยการควบคุมอัตราการหยอดแบบอัตโนมัติดังกล่าวจะควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 2 ชุด คือ ควบคุมชุดขับเพลาหยอดเมล็ดเพื่อควบคุมอัตราการหยอดเมล็ดพืช และควบคุมชุดเพลาหยอดปุ๋ยเพื่อควบคุมอัตราการหยอดปุ๋ย โดยใช้เอ็นโค้ดเดอร์วัดความเร็วการเคลื่อนที่จากล้อขับซึ่งระบบการควบคุมจะทำการประมวลผลอัตราการหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยให้สัมพันธ์กับความเร็วการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์

32E81D9F DFE1 41AB 8EBB 5F9D5E1D4498

จากการทดสอบเครื่องหยอดพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์โดยได้ติดตั้งและทดสอบการทำงานกับเครื่องหยอดของ บริษัท พรเจริญ(ช่างคิด) โดยผลการทดสอบอัตราการหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ย พบว่า เครื่องหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยแบบอัตโนมัติสามารถกำหนดอัตราการหยอดได้ตรงตามคำแนะคำเทคโนโลยีการปลูกพืชของกรมวิชาการเกษตรได้อย่างแม่นยำ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตในขั้นตอนการเพาะปลูกได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการผลิตพืชไร่ของไทย

D6A8F34E 38E1 485F A4FF F45BD0333C4E scaled
CD5B0FEB 8344 44CB 8A6E 4E8DF52E99CA

“เทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นการก้าวไปสู่การทำเกษตรแบบแม่นยำในยุคการเกษตร 4.0 หรือเกษตรอัจฉริยะที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในขั้นตอนการเพาะปลูก เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้กับการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของไทยเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช(Seed Hub) ตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมต่อยอดการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เป็นสินค้าส่งออกในอนาคต สร้างความยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรของไทย เกษตรกรที่สนใจนำเครื่องหยอดเมล็ดและปุ๋ยแบบอัตโนมัติไปใช้งานหรือนำไปรับจ้างสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืชสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์  02-5792757” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

FC456350 536D 44F4 B56A 9AD3F4689469 scaled
F574FDE2 1030 4B7B B15D 025DD697C7E6