ลงนาม MOU ร่วมมือขับเคลื่อน ผลักดัน ใช้ประโยชน์ “กัญชง” อย่างครบวงจร

นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีลงนามความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร โดยนางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดย ดร.จิระศักดิ์ ธาระจักร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ภิรมย์ ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

b3428bc2ccc1da217e16eaaa5796a17c
ใช้ กัญชง อย่างครบวงจร

การลงนาม MOU ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการการทำงานและการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อน ผลักดัน การใช้ประโยชน์จากกัญชงอย่างครบวงจร รวมถึงสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ และนำองค์ความรู้ที่ได้จากความร่วมมือต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ ตลอดจนร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชกัญชง และพัฒนาร่วมกันให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และปริมาณ

นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมโรงเรือนปลูกกัญชง ที่ชั้นดาดฟ้า และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านวิเคราะห์ทดสอบ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ ( 16 ก.ย. 65 )สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (Thai Industrial Hemp Trade Association: TiHTA) รุกคืบในการผลักดันพืชกัญชงสู่พืชเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและภารกิจในการปั้นไทยสู่ฮับอุตสาหกรรมกัญชงแห่งเอเชีย ผนึกกำลังหน่วยงานรัฐ สมาคมอุตสาหกรรมการผลิต และเอกชน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) 15 ฉบับ เชื่อมโยงเครือข่ายการใช้ประโยชน์จากพืชกัญชงในภาคอุตสาหกรรมและการแพทย์ และร่วมฉลองนานาชาติให้ความสนใจ และขานรับไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงาน “Asia International Hemp Expo 2022” งานแสดงสินค้า การจับคู่ทางธุรกิจ และการประชุมนานาชาติครั้งใหญ่ในเอเชีย โดยได้รับความร่วมมือจาก 25 ประเทศใน 5 ทวีปทั่วโลก

นายพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TiHTA) เผยว่า จากการผลักดันร่วมกันของภาคผู้ประกอบการในการนำพืชกัญชงมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมของสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทยร่วมกันจริงจังมาเกือบ 2 ปี ตอนนี้ได้เห็นแล้วความคืบหน้าอย่างมาก ในการนำกัญชงป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และหลายสถาบัน และสมาคมในอุตสาหกรรมการผลิตที่มาลงนามร่วมกันได้มีการดำเนินงานร่วมกับสมาคมฯ มานานแล้วก็ได้เริ่มมีผลงานวิจัย และต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้กัญชงเป็นวัตถุดิบออกมาบ้างแล้ว เช่น สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่ร่วมกันวิจัยและพัฒนากับสมาชิกสมาคมฯ ออกมาเป็นวัสดุทางการแพทย์ หรือทางสถาบันอาหาร ที่ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและมาตรฐานการนำส่วนของกัญชงไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างมีมาตรฐาน

นอกจากนั้น ยังมีสมาคมอื่น ๆ อีกมากมายที่เราร่วมงานกันและยังไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมผนึกกำลังกัน และถือเป็นโอกาสดีมากที่ได้ร่วมลงนามความร่วมมือย่างเป็นทาง ทางสมาคมฯ ก็ยินดีต้อนรับทุก ๆ ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกัญชงให้ครบครันในทุกมิติ สู่เศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

“สมาคมฯได้สร้างเครือข่ายทางธุรกิจกว่า 25 ประเทศแล้วในขณะนี้ที่สนใจเข้ามาเจรจาและสร้างโอกาสใน อุตสาหกรรมกัญชง กับประเทศไทย ความต้องการในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเปิดกว้าง ทำให้กัญชงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล และคาดว่าตลาดกัญชงสามารถสร้างรายได้กว่า 2 หมื่นล้านบาท ภายใน 5 ปี”