อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรลงใต้ตรวจเยี่ยมเกษตรกรต้นแบบ”เกษตรผสมผสานดีเด่น”2564 จ.นราธิวาส

วันที่21 กันยายน 2565 นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรงอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วย นายนวนิตย์พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจเยี่ยมแปลงของเกษตรกรต้นแบบเกษตรผสมผสานดีเด่นประจำปี 2564 นายอาเรส  หะมะ ​​​เลขที่ 79 หมู่ที่  3 ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

เดิม”อาเรส”เคยเปิดร้านขายของชำในที่ดินของคนอื่นพออยู่ได้แต่รู้สึกว่าในระยะยาวไม่ยั่งยืนเพราะเช่าที่ดินของคนอื่น ซึ่งต่อมาก็ได้ซื้อที่ดินแปลงนี้ ทยอยซื้อเพิ่มจนได้ 3 ไร่ 2 งาน และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาส่วนหนึ่งมาทำการเกษตรผสมผสาน โดยวางแผนการผลิตและการตลาดอย่างเป็นระบบ โดยการเน้นการตลาดนำการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งมองว่าการเกษตรผสมผสาน จะช่วยให้มีอาหารไว้บริโภคได้ตลอด สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องทั้งรายได้รายวันรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปีได้

B6AD6AA9 FD02 4888 96E8 42FAA7F58C07

“อาเรส”แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 3 ไร่ ออกเป็น 4 ส่วน เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ : การพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดฐานเรียนรู้ดังนี้

– ฐานการเรียนรู้ที่ 1 : การปลูกพืชผักพืชไร่

– ฐานการเรียนรู้ที่ 2 : การผลิตปุ๋ยหมัก

 – ฐานการเรียนรู้ที่ 4 :  การเลี้ยงปลา

– ฐานการเรียนรู้ที่ 5 : การเลี้ยงสัตว์

B842DDD4 6D38 470F 86DF 13FD5C515D24

การทำเกษตรผสมผสานเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้จากหลายผลิตภัณฑ์เกษตรที่ทำอีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้สม่ำเสมอ เพราะทำให้สามารถหมุนเวียนเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยตลอดทั้งปีได้ การทำเกษตรแบบผสมและเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆแม้จะมีที่ไม่มาก เมื่อเทียบอัตราผลตอบแทนแล้วสามารถให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ประกอบกับการศึกษาและวางแผนที่ดีในการเลือก พืชหรือสัตว์ เศรษฐกิจ ให้เหมาะสมและเกื้อหนุนกัน ยิ่งทำให้ลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น

การลดต้นทุนจาการใช้สารเคมี การผลิตอาหารสัตว์ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาทเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน-ฝึกงาน /เป็นแหล่งอาหาร / เป็นจุดแบ่งปัน/เป็นจุดเชื่อมโยงต่างๆ

5637BCDC 6286 41A2 ACD3 BD889CE44869

ด้วยประสบการณ์ที่ทำการเกษตรมาหลายปี ล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูก จากที่ต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นจนสามารถซื้อที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้เกษตรกรในชุมชนละแวกใกล้เคียง เกษตรกรต่างชุมชน ต่างอำเภอ นักเรียน นักศึกษา หน่วยของรัฐ บุคคลทั่วไปให้ความสนใจเข้ามาเรียนรู้ มาขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้กัน