“ดาวเรือง”ไม้ดอกทำเงินเกษตรกรรุ่นใหม่ จ.พะเยา 

โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพการเกษตร สร้างรายได้ให้กับสาวอดีตพนักงานบริษัท ที่ลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ กลับไปทำสวนดอกดาวเรืองที่ จ.พะเยา สามารถสร้างรายได้นับแสนบาทต่อรอบการเก็บขาย

    จากปัญหาภาคการเกษตรของไทยย่างก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ลูกหลานคนรุ่นใหม่นิยมออกไปทำงานในเมืองใหญ่ และไม่สนใจประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้แรงงานภาคเกษตรเริ่มขาดแคลน ประกอบกับภาคเกษตรเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญเพื่อการบริโภคของคนไทยและการสู่เป็นครัวของโลก

    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีนโยบายที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันกลับมาทำอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯจัดทำโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรเพื่อพลิกชีวิตคนเมืองสู่อาชีพเกษตรกรรมในบ้านเกิด มาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน(2565)

A268B5A4 CFAC 4CE6 8919 EB5E515657CF

    “ดาวเรือง”  ไม้ดอกอีกชนิดที่นิยมปลูกกันมาในหมู่เกษตรกกรรุ่นใหม่ เนื่องจากเป็นไม้ทำเงิน ปลูกง่าย เก็บเกี่ยวได้เร็ว ลงทุนน้อย แต่ผลตอบแทนดี และที่สำคัญยังเป็นที่ต้องการของตลาดสูง เพราะเป็นไม้ดอกสารพัดประโยชน์ ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง “ดอกดาวเรือง” ยิ่งเป็นที่ต้องการสูงเป็นเงาตามตัว

E26A0AB7 4350 46DC AAD1 0E03AEEB4E37

     นางสาว อลิสา เรืองพิศาล อายุ 35 ปี หนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพการเกษตร หลังลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพมหานคร กลับไปอยู่บ้านดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ปี 2559 เนื่องจากพ่อกับแม่มีปัญหาด้านสุขภาพ และด้วยความสนใจเรื่องการทำเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อได้รับทราบข่าวสารโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร จึงสมัครเข้าร่วมโครงการฯทันที

304F35BD 06E2 4A6B 93B9 50FBF04FE984

    “กลับมาอยู่บ้านปี59 ตอนลาออกจากงานฝ่ายสินเชื่อบริษัทประกัน ได้เงินเดือน 3 หมื่นบาท ออกมาขายดอกดาวเรือง วันเดียวได้ 3 พัน แต่ก็ไม่ได้ทุกวัน ก็เลยคิดวางแผนการปลูกเป็นอาชีพในระยะยาว”

    ปัจจุบัน “อลิสา”เป็นเจ้าของแปลงปลูกดอกดาวเรือง ควบคู่กับการทำเกษตรผสมผสาน บนเนื้อที่ 4 ไร่หมู่ 8 บ้านเจน ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ทั้งยังเพาะกล้าพันธุ์ดาวเรืองจำหน่าย พร้อมดูแลด้านการตลาดให้กับสมาชิกในเครือข่ายผู้ปลูกดอกดาวเรืองในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพะเยาอีกจำนวน 49 ราย โดยสมาชิกจะส่งดอกดาวเรืองมารวบรวมไว้ที่นี่เพื่อส่งต่อไปยังปากคลองตลาด ที่กรุงเทพฯและส่วนหนึ่งส่งให้กับพ่อค้าที่เชียงใหม่

F16F52B7 4C7F 4C81 9B84 7846FCFD0016

      “ตอนแรกได้เมล็ดพันธุ์ดาวเรืองมาปลูก แต่ปลูกแล้วไม่มีที่จำหน่าย จึงจำเป็นต้องหาตลาดเอง เริ่มจากไปศึกษาตลาดดอกไม้ที่ปากคลองตลาด เราเคยอยู่กรุงเทพฯ 15 ปีและส่วนหนึ่งก็ได้ทำสัญญาส่งดอกดาวเรืองให้กับผู้ค้าในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็มาส่งเสริม สนับสนุนการปลูกดอกดาวเรืองให้กับเกษตรกรและผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายทั้งสิ้น 49 คน”นางสาว อลิสาเผย  

2F97760B CE6E 4F09 81C8 D3ECC06B70A9

       ความที่มองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้ทั้งตัวเองและสมาชิกให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการจ้างกลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มผู้สูงอายุแพคถุงดอกดาวเรือง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุทำให้วางแผนการปลูกอย่างเป็นระบบตั้งแต่การผลิต การแพคกิ้งไปจนถึงการตลาด ทำให้ทุกวันนี้แปลงของอลิสาและสมาชิกปลูกต้นดอกดาวเรืองไปแล้ว 80,000 ต้น สามารถเก็บดอกได้ประมาณ 120 ดอกต่อต้น คิดกำไรต้นละ 10 บาท จะมีรายได้มากถึง 800,000 บาท โดยมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวนานถึง 3 เดือน  

4290F2F0 AC50 41B4 A85E DCF08049864F

     “ดอกที่ดี ดอกใหญ่กลม ไม่ลาย ไม่มีเชื้อราคาจะขายได้ราคาสูง 1 ไร่ มีต้นทุนอยู่ที่ 15,000 บาทสามารถปลูกได้ 4,000 ต้น ถ้าดูแลรักษา อย่างดี สามารถสร้างรายได้มากถึง 80,000 บาท ต่อไร่  ดาวเรืองหนึง่ต้นสามารถเก้บได้ประมาณ 3 ครั้ง ตัดครั้งแรกดอกใหญ่ แล้วมันจะแตกยอดขึ้นมาใหม่รออีก 45 วันก็จะตัดครั้งต่อไป แต่ดอกจะเล็กลงเรื่อย ๆ” เจ้าของแปลงปลูกดอกดาวเรืองคนเดิมกล่าว

      และเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมด้วยนายพงศธร ศรีชัย สหกรณ์จังหวัดพะเยาและคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงปลูกดอกดาวเรืองของนางสาวอลิสา 

60CC0156 4026 496E A7C8 14C0499CB2BF

      โดยนาย อัชฌา ได้แนะนำให้ดำเนินการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองราคา มีการบริหารจัดการที่ดีสะดวก รวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งสมาชิกที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่จะได้นำองค์ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี มาพัฒนาให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งด้วย            

      “ถ้าเป็นตัวบุคคลต้องอาศัยความเชื่อมั่นลึกซึ้งถึงจะทำได้ แต่ถ้าเป็นสถาบัน เป็นสหกรณ์จะทำได้ง่ายกว่า เครือข่ายสหกรณ์เราก็เยอะ ดอกใหญ่ขายดอก ส่วนดอกตกเกรดก็ช่วยให้มีราคาได้ ส่งให้กับสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ที่แปดริ้วเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ โดยไม่ต้องทิ้ง” รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กล่าว พร้อมย้ำว่า “อยากให้กลุ่มผู้ปลูกดอกดาวเรืองภูกามยาว จัดตั้งเป็นสถาบันสหกรณ์เพื่อประโยชน์กับสมาชิกและง่ายต่อการขอรับความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ

     ทั้งนี้ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยา ได้ดำเนินโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร มีเกษตรกรรุ่นใหม่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 46 ราย ในปีงบประมาณ 2565 มีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ จำนวน 10 ราย ซึ่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพะเยา ได้มีการติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป