“อะโวคาโด” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ 

มนตรี ตรีชารี ประธานชมรมอะโวคาโดปากช่องเขาใหญ่ / อุปนายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ถามขุนพิเรนทร์ว่า ว่างไหม โดดงานมาดูเสวนาเรื่องอะโวคาโดปากช่อง ให้หน่อย จะได้เคลียร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับอะโวคาโดทั้งหมด ชวนมามีเวลาก็ไปครับ

ดูกำหนดการ ขุนพิเรนทร์สงสัยอยู่หลายเรื่อง ที่อยากเจอที่สุดคือ 2 ท่าน หนึ่งมิสเตอร์อะโวคาโดแมนหรือ อาจารย์โหน่ง ผอ.ธนากร โปทิกำชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรที่สูง จ.ตากอีกท่านคือ อ.ขวัญหทัย ทนงจิตร (อาจารย์ฝนขวัญใจสไตล์ นักวิจัยชำนาญการ สถานีวิจัยปากช่อง)

C30674C4 15A4 4CC4 AAB9 D24D124E5E22

อาจารย์โหน่ง บรรยาย ภาพการส่งเสริมอะโวคาโดของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่สูง (แยกเขียนอีกเรื่องนะครับ)

ส่วนอาจารย์ฝน เล่าตำนานอะโวคาโดเมืองไทย สู่สถานีวิจัยปากช่อง และการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอะโวคาโดให้มีคุณภาพ ตรงนี้ความรู้เต็มๆถ่ายทอดได้สนุกมากครับ 

F22DFAF3 33B6 493E 94A2 A48FA85E8A93

วันนี้…อะโวคาโด น่าสนใจไหม น่าสนใจ จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ผลการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูก อโวกาโด จำแนกตามพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ ปี 2565 (ตามที่ตั้งแปลง)ปรับปรุงข้อมูลวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 มีเกษตรกร 4,120 ครัวเรือน 4,691 แปลง เนื้อที่รวมทั้งประเทศ  17,541.94 ไร่ เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียด เนื้อที่ที่มีเอกสารสิทธิ์  904 ครอบครัว  974 แปลง เนื้อที่  1,914.02 ไร่ เป็นเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 3,246.00 ครัวเรือน 3,717.00 แปลงเนื้อที่ 15,627.92 ไร่ 

CB651299 686B 4220 BEDC 1ECAED5B7761

ในส่วนภาคการผลิต มีทิศทางเพิ่มขึ้นทุกปี ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่ผลผลิต ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ ไทยนำเข้าอะโวคาโดจากต่างประเทศมากขึ้น นั่นหมายถึงความต้องการในประเทศมีมากขึ้น

จากการพูดคุยกับเกษตรกรมีข้อมูลบ่งชี้ว่า เชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีการปลูกอะโวคาโดมากที่สุด มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 12,000 ไร่ ส่วนจังหวัดตากตามมาติดๆ ราว 7-8,000 ไร่ ข้อมูลนี้ทำให้ทราบว่ามีเกษตรกรอีกตำนวนไม่ร้อยที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืชอะโวคาโดกับกรมส่งเสริมการเกษตร

อะโวคาโดมีอนาคตหรือไม่ อาจารย์โหน่ง ตอบว่า “ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรที่สูง จ.ตาก ส่งเสริมปลูกอะโวคาโดให้เกษตรกรมา 10 ปี ยังมีของไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ต้องมีการนำเข้าอะโวคาโดมีอนาคตครับ แต่ต้องเป็นอะโวคาโดที่มีคุณภาพ”

2BD49613 3837 45A6 9FAB 22CA0A7FCCDB

อาจารย์โหน่ง จากเกษตรที่สูงตากพูดมาชัดๆแบบนี้ 

“อะโวคาโดบ้านเราจะอยู่ได้ต้องมีคุณภาพ ที่ผ่านมามีหลายคนไม่เคยกิน ต้องส่งเสริมตรงนี้ อะโวคาโดกินช่วงไหนจะอร่อย แต่ละพันธุ์นอกจากการทานสดแล้วต่อยอดทำอะไรได้มากมาย ที่สำคัญคือ อะโวคาโดเป็นอาหารสุขภาพ”

ด้านมนตรี ตรีชารี ประธานชมรมอะโวคาโดปางช่องเขาใหญ่บอกว่า “เกษตรกรที่ปากช่องปลูกอะโวคาโดจึงมีการรวมกลุ่มกันครั้ง การเสวนาวันนี้ต้องบอกว่าได้รับการตอบรับจากสมาชิกเป็นจำนวนมากเรารวมกลุ่มและตั้งใจประกาศให้ทั้งประเทศรับรู้ว่า ปากช่องมีอะโวคาโดคุณภาพและชมรมพร้อมจะผลักดันให้อะโวคาโดพัฒนาไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ”

อะโวคาโด วันนี้ มองหลายมุม แต่แน่ๆ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ให้ผลิตอะโวคาโดที่มีคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ ประเภทเก็บผลอ่อนขายจะต้องไม่เกิดขึ้น

…งานนี้ดูกันยาว