รู้เขารู้เรา…จีนขยายตลาด ’ทุเรียน’ หลังทดลองมานานนับ 60 ปี เปิดรายงานจากแปลงปลูกในมณฑลไห่หนาน เตรียมตัดลอตแรกมิถุนายนนี้

ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว เปิดรายงานสถานการณ์ทุเรียน ที่เพาะปลูกในเมืองซานย่า มณฑลไห่หนานของจีน ซึ่งจะเริ่มให้ผลผลิตในเดือนมิถุนายน 2566 โดยระบุว่า 

ทุเรียนที่เพาะปลูกในเมืองซานย่า มณฑลไห่หนานของจีน จะเริ่มให้ผลผลิต ในเดือนมิถุนายน 2566 ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา ทุเรียนที่เพาะปลูกในจีนก็เริ่มให้ผลผลิตแล้ว 

หนังสือพิมพ์ Sanya Daily รายงานว่าปัจจุบันสวนทุเรียนในเขตนิเวศวิทยายู่ไฉเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน (Hainan Sanya Yucai Ecological Zone) ได้เริ่มเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างแล้ว โดยคาดว่าช่วงเดือนมิถุนายน 2566 จะมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน 1,400 หมู่จีน (ประมาณ 583 ไร่) ให้ผลผลิตและออกจําหน่ายสู่ตลาดได้ 

6C5ABA8A 7A7A 494E B24E 30A9EC7CE213

โดยจะมีผลผลิตประมาณ 500 กิโลกรัมต่อหมู่ (1,200 กิโลกรัมต่อไร่) มูลค่าผลผลิตกว่า 50,000 หยวนต่อหมู่ (ประมาณ 120,000 หยวนต่อไร่) และในอนาคตคาดว่าจะให้ผลผลิตได้มากถึง 1,750 กิโลกรัมต่อหมู่ (ประมาณ 4,200 กิโลกรัมต่อไร่) และมูลค่าผลผลิตมากกว่า 100,000 หยวนต่อหมู่ (ประมาณ240,000 หยวนต่อไร่)

เจ้าหน้าที่ของกรมเกษตรและกิจการชนบทเมืองซานย่าให้ข้อมูลว่า เมืองซานย่าได้เริ่มนํา พันธุ์ทุเรียนมาปลูกที่เมืองซานย่าเมื่อปี 2562 เพื่อพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่มีลักษณะพิเศษของเมืองซานย่า 

ปัจจุบันเมืองซานย่ามีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนรวมประมาณ 4,167 ไร่ โดยในปีนี้จะมีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 833-1,250 ไร่ ที่จะมีการติดดอกและออกผล คาดว่าในอีกหนึ่งถึงสองปีข้างหน้า จึงจะมีผลผลิตทุเรียนซานย่าปริมาณมากขึ้นที่ออกสู่ตลาด 

และเมืองซานย่าจะใช้เวลา 3-5 ปี เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมทุเรียน 50,000 หมู่ (ประมาณ 20,833 ไร่) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการผลิต 5,000 ล้านหยวน สร้างให้เป็นอุตสาหกรรมเทียบกับ มะม่วงซานย่าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองซานย่า 

6DBB6625 1B83 4E47 8926 8F42DC63F8A7

นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะจัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรม การเกษตรสมัยใหม่ยู่ไฉเมืองซานย่า เพื่อสร้างเป็นฐานการผลิตแปรรูปทุเรียน โดยในนิคมอุตสาหกรรม จะมีการแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ ระบบห่วงโซ่ความเย็น คลังสินค้า และโลจิสติกส์ สําหรับทุเรียนแบบครบวงจร ผลักดันการพัฒนาทุเรียนตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา นําไปสู่การส่งเสริมการยกระดับการเกษตรของเมืองซานย่า เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เร่งให้งานฟื้นฟูชนบทประสบผลสําเร็จได้เร็ววัน

ปัจจุบัน บริษัทที่เพาะปลูกทุเรียนพื้นที่ขนาดใหญ่ในเมืองซานย่า คือ บริษัท Hainan Youqi Agricultural Co., Ltd. ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2561 และเป็นหน่วยงานระดับประธานของสมาคมทุเรียนมณฑลไห่หนาน และสมาคมทุเรียนเมืองซานย่า บริษัทฯ ได้จ้างเจ้าหน้าที่เทคนิคมืออาชีพ ประมาณ 30 กว่าคน 

C8D7AFDA C964 432B 87C3 A815B3DE02A0

โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกทุเรียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้เชี่ยวชาญพืชสวนภายในประเทศ นักปฐพีวิทยา นักวิชาการเกษตร วิศวกรป่าไม้ และได้ร่วมมือกับสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน สถาบันวิทยาศาสตร์ การเกษตรเขตร้อนแห่งประเทศจีน และสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน ในด้านการเพาะปลูก การวิจัยและพัฒนาผลไม้เขตร้อน เช่น ทุเรียน เป็นต้น

แปลงเพาะปลูกต้นกล้าทุเรียนภายใต้การดูแลของบริษัท Hainan Youqi Agricultural Co., Ltd. รวมถึงแปลงในเมืองซานย่า มีทุเรียนพันธุ์ใหม่และพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 100 สายพันธุ์จากประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในการเพาะปลูกต้นกล้าทุเรียนได้ 100,000 หมู่(ประมาณ41,667ไร่)ตามแผนงานเมืองซานย่า จะใช้เขตนิเวศวิทยายู่ไฉเป็นศูนย์กลางโดยมฐานการเพาะปลูก ทุเรียนมากกว่า 7,000 หมู่ (ประมาณ 2,917 ไร่) 

CB3244E5 54FB 437C BFCF 72A11503A3AF

ซึ่งดําเนินการตามรูปแบบบริษัท + เกษตรกร สร้างอุตสาหกรรม ทุเรียนในมณฑลไห่หนาน เพื่อบรรลุความฝันการเพาะปลูกทุเรียนของจีน ลดแรงกดดันในการพึ่งพาการนําเข้า ทุเรียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยรอบบริเวณ และจะเป็นตัวอย่าง การพัฒนาด้านการเพาะปลูกผลไม้เขตร้อนให้กับมณฑลไห่หนาน

นายตู้ ไป่จง ผู้รับผิดชอบฐานการเพาะปลูกทุเรียนเขตนิเวศวิทยายู่ไฉเมืองซานย่า ซึ่งเป็นฐาน การเพาะปลูกทุเรียนขนาดใหญ่แห่งแรกของมณฑลไห่หนาน ให้ข้อมูลว่า มณฑลไห่หนานมีการนําทุเรียน เข้ามาปลูกกว่า 60 ปีแล้ว และได้ยินคํากล่าวต่อ ๆ กันมาว่า ต้นทุเรียนที่ปลูกในไห่หนานไม่มีการออกดอก และติดผล 

7A676F7E A31C 4B5B B94B B3FEB3AC8306

ที่ผ่านมาการปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนานส่วนใหญ่จะปลูกกันในพื้นที่ขนาดเล็กในกลุ่มชาวจีน โพ้นทะเลที่ละ 10 – 20 ต้น ไม่มีการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ ในปี 2562 นายตู้ ได้ไปเยี่ยมชมต้นทุเรียน ที่ปลูกไว้ข้างทางในสวนเงาะเป่าถิง จํานวน 44 ต้น พบว่า มีการออกดอกและติดผล โดยมีหนึ่งต้นที่มีการติดผล มากถึง 80 – 90 ลูก ทําให้ตนเองมั่นใจว่ามณฑลไห่หนานสามารถเพาะปลูกทุเรียนได้ และได้เริ่มเพาะปลูก ทุเรียนในพื้นที่ขนาดใหญ่ 

ที่ผ่านมาจีนไม่เคยมีการเพาะปลูกทุเรียนบนพื้นที่ขนาดใหญ่มาก่อนจึงไม่มี องค์ความรู้ ในตอนแรกต้นกล้าทุเรียนมีอัตรารอดเพียงร้อยละ 60 เพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าว ได้มีการบริหารจัดการ การให้น้ําและปุ๋ยการควบคุมโรคและศัตรูพืช และเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกทุเรียนจากอาเซียน มาให้คําชี้แนะ 

รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนานและ สถาบันวิจัยต่าง ๆทําให้สามารถทําการตัดต่อก่ิงทุเรียนได้สําเร็จ การบริหารการเพาะปลูก และการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ส่งผลให้อัตราการรอดของต้นกล้าทุเรียนสูงถึงร้อยละ 98 โดยการเพาะปลูกทุเรียนของไห่หนานจะใช้ระบบปุ๋ยน้ํา

มีการให้ปุ๋ยและน้ําอย่างเป็นเวลาและแม่นยําโดยใช้ระบบหัวพ่นน้ําที่สามารถตั้งปริมาณน้ําและเวลาที่จะให้ ผ่านระบบที่เชื่อมกับโทรศัพท์มือถือของผู้เพาะปลูก สามารถประหยัดเวลาและแรงงาน รวมถึงทําให้การเจริญเติบโตของต้นทุเรียนดีและควบคุมได้อย่างเป็นมาตรฐานกับการเพาะปลูกพื้นที่ใหญ่

2BCE39E5 8B2F 4CC6 BCB4 1EBD4F8CB831

ข้อคิดเห็นของฝ่ายเกษตรฯ กว่างโจว

1. สื่อของจีนส่วนใหญนำเสนอข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับผลผลิตของทุเรียนที่เพาะปลูกในเมืองซานย่า ว่า จะสามารถให้ผลผลิตได้สูงถึง 4,200 กก./ไร่ ในอนาคต มีเพียงบางสื่อที่รายงานว่าในเบื้องต้นคาดว่า จะมีผลผลิตต่อไร่ราว 1,200 กก./ไร่ 

อย่างไรก็ดี ในช่วงปีที่ผ่านมาก็มีการรายงานข่าวว่าหลายพื้นที่ในมณฑล ไห่หนานและมณฑลกวางตุ้งต้นทุเรียนมีการติดดอกและออกผล แต่ก็ไม่ได้มีข่าวในเรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่ได้จริง เนื่องจากปริมาณพื้นที่การเพาะปลูกไม่ได้มากดังเช่นเมืองซานย่าของมณฑลไห่หนาน จึงยังไม่มี การเปรียบเทียบคุณภาพและรสชาติของทุเรียนที่จีนผลิตได้ในวงกว้าง

2. ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวได้จริงในฐานการเพาะปลูกดังกล่าวของเมืองซานย่า ฝ่ายเกษตรฯ กว่างโจว คาดว่าจะมีปริมาณน้อยกว่าที่คาดการณ์เนื่องจากต้นทุเรียนมีอายุเพียง 3 – 4 ปี แต่ก็ถือได้ว่า

เป็นครั้งแรกของการเพาะปลูกทุเรียนของจีนที่สามารถเห็นผลของการเพาะปลูกในพื้นที่ เพาะปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะนําไปสู่การเปรียบเทียบคุณภาพและรสชาติของทุเรียนที่ปลูกในจีนกับทุเรียนที่ นําเข้าจาก ต่างประเทศ รวมถึงต้นทุนและราคาในการจําหน่ายทุเรียนของจีนในอนาคตต่อไป

3. เกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยในห่วงโซ่อุตสาหกรรมทุเรียนควรให้ความสําคัญ กับการควบคุณภาพของทุเรียนไทยตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างเข้มงวด ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งด้านคุณภาพ ให้กับทุเรียนไทยต่อผู้บริโภคชาวจีนให้สามารถแข่งขันในตลาดจีนได้อย่างยั่งยืนในสถานการณ์ที่หลายป ระเทศ ต่างเข้ามาช่วงชิงตลาดทุเรียนในจีน

E133DB44 463C 4BA4 B05F BC7E95E76CA5