(มีคลิป)“FAST ดวงตาแห่งจีน”พบสัญญาณคลื่นวิทยุแบบฉับพลันระยะ 3 พันล้านปีแสงเป็นครั้งแรก 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กล้องโทรทรรศน์ “ดวงตาแห่งจีน FAST” หรือ “ดวงตาแห่งจักรวาล” ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุทรงกลมขนาดรูรับแสง 500 เมตรที่ตั้งอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว ได้ค้นพบการลุกจ้าฉับพลันของคลื่นวิทยุแบบต่อเนื่องเป็นครั้งแรก และยังเผยแพร่การค้นพบดังกล่าวในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “เนเจอร์” (Nature) อีกด้วย

โดยกล้องโทรทรรศน์ฟาสต์” (Five-hundred-meter Aperture Spherical radio Telescope-FAST) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ดวงตาจักรวาล” ของจีนตรวจพบสัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน (Fast Radio Burst) หรือ “เอฟอาร์บี” (FRB) ลึกลับจากระยะไกล 3 พันล้านปีแสง แม้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่มิลลิวินาที แต่สามารถปลดปล่อยพลังงานได้มากเท่ากับดวงอาทิตย์ใน 1 ปี

0B9C3AC2 AAB0 4928 AE3F 026652B53E14

การลุกจ้าฉับพลันของคลื่นวิทยุ (FRB) เป็นปรากฏการณ์คลื่นวิทยุระเบิดที่สว่างที่สุดในจักรวาล โดยปล่อยพลังงานออกมาใน 1 มิลลิวินาที ของปริมาณพลังงานที่ดวงอาทิตย์จะฉายออกมาในเวลาประมาณหนึ่งปีเต็ม

และมีรายงาน ระบุว่า แหล่งที่มาของสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันดังกล่าว ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นสูง และมีสนามแม่เหล็กสูง 

62E7454C 4816 4448 985E E94DEC22A187

ประวัติการศึกษาวิจัยด้านการลุกจ้าฉับพลันของคลื่นวิทยุนั้น เพิ่งมีไม่นานนัก โดยได้รับการยืนยันการมีอยู่ของปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2007 และในปี 2016 ก็ได้ค้นพบการลุกจ้าฉับพลันที่เกิดซ้ำเป็นครั้งแรก ซึ่งในครั้งนี้กล้อง “ดวงตาแห่งจีน” ก็ได้ตรวจพบการลุกจ้าฉับพลันของคลื่นวิทยุแบบต่อเนื่อง

หลี่ ตี้ นักวิจัยของหอดูดาวแห่งชาติจีน สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน อธิบายว่า การระเบิดของคลื่นวิทยุอย่างรวดเร็วที่พบในครั้งนี้ เกิดการระเบิด 3-4 ครั้งในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง และการระเบิดโดยทั่วไปจะใช้เวลาต่อเนื่องเป็นเวลาไม่กี่มิลลิวินาทีเท่านั้น

93519424 9BE5 4B06 8980 E7394356D6F2

หลังจากนั้น ทีมวิจัยได้จัดอุปกรณ์นานาชาติจำนวนหนึ่งเพื่อสังเกตการณ์ท้องฟ้าและโลกร่วมกัน และบูรณาการข้อมูลจากทัศนศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด และหอสังเกตการณ์พลังงานสูงในอวกาศ เพื่อค้นหา การลุกจ้าฉับพลันของคลื่นวิทยุ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ในดาราจักรแคระที่อยู่ห่างจากเรา 3 พันล้านปีแสง

590B1710 E5BB 4C41 8B0E 6799D2890231

ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์ฟาสต์ เริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ม.ค.2563 โดยช่วยขยายระยะสำรวจได้ไกลกว่ากล้องทั่วไป สามารถสำรวจได้เต็มประสิทธิภาพถึง 4 เท่า ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบดาวฤกษ์ต่างๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อน รวมถึงปรากฏการณ์ในจักรวาล และกฎของจักรวาลหรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตนอกโลกอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : CMG (China Media Group)