ชป. กำชับพื้นที่ตอนบนเพาะปลูกตามแผน ลดเสี่ยงน้ำขาดแคลน

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B1 3

ชป. เตรียมความพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือ ช่วยเหลือฤดูแล้งทั่วประเทศ ปี 66 /67

กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน( ณ 21 ธ.ค. 66)ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 59,964 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79  ของความจุอ่างฯรวมกัน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 17,790 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 72  ของความจุอ่างฯรวมกัน กรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มี ด้วยการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก  รักษาระบบนิเวศ  การเกษตร อุตสาหกรรม และสำรองไว้ใช้ในต้นฤดูฝนหน้าตามลำดับ

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B2 3
ชป. เตรียมความพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือ ช่วยเหลือฤดูแล้งทั่วประเทศ ปี 66 /67

จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศไปแล้วกว่า 5,472 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของแผนฯ  เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 1,418 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของแผนฯ  ปัจจุบันทั้งประเทศมีการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว  3.56 ล้านไร่  หรือคิดเป็นร้อยละ61 ของแผนฯ  เฉพาะลุ่มเจ้าพระยา  มีการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้ว 2.67 ล้านไร่  คิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนฯ   ภาพรวมการบริหารจัดการน้ำ ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้   ทั้งนี้  พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  รวมไปถึงภาคตะวันออก อยู่ในช่วงการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง  จึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานและสำนักเครื่องจักรกลในพื้นที่ ให้เฝ้าระวังจุดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ  โดยเฉพาะน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา พร้อมบูรณาการเครื่องจักรเครื่องมือร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้ทันที  รวมทั้งวางแผนบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำและรณรงค์การเพาะปลูกพืชให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด  เพื่อลดความเสี่ยงที่ผลผลิตจะเสียหายได้

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B3 3
ชป. เตรียมความพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือ ช่วยเหลือฤดูแล้งทั่วประเทศ ปี 66 /67