กรณีนายกฤษฎา อินทามระ ทนายความเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนบก.ปปป.แจ้งความเอาผิดเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.โคราชปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯตามป.อาญาม.157หลังพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเอื้อประโยชน์ให้โรงงานแป้งมันปล่อยน้ำเน่าเสียลงบนที่ดิน ส.ป.ก.นับร้อยไร่จนส่งผลกระทบต่อชาวบ้านรวมทั้งเด็กนักเรียนและพระสงฆ์ต้องอยู่อย่างทรมานจากกลิ่นเน่าของมันสำปะหลัง
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 22 มี.ค. 67 ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอก ธรรมทัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบการใช้ที่ดิน สปก.ใน จ.นครราชสีมา โดยมี นายอำมริต คงแก้ว รักษาการ สปก.จ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปปป./ บก.ปทส.กองบัญชาการสอบสวนกลาง เจ้าหน้าที่ สปก.นครราชสีมา กอ.รมน.จังหวัดฯ อุตสาหกรรมจังหวัดฯ ร่วมประชุมก่อนลงพื้นที่ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่ สปก.ที่มีการร้องเรียนว่ามีนายทุนรายใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา แอบอ้างสิทธิฯ ทำกิน พร้อมแจ้งความดำเนินคดีขุดดิน ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ม.3 (15) ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต่อไป โดยจะดำเนินคดีกับนอมีนี 13 รายที่ถือครองแทนนายทุนรายใหญ่
นอกจากนี้มี นายกฤษฎา อินทามระ เจ้าของฉายา”ทนายปราบโกง“ผู้รับเรื่องร้องทุกข์จากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากการลักลอบทิ้งน้ำเสียลงพื้นที่ สปก.จำนวน 700 ไร่ ในเขต ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง นครราชสีมา พร้อม นายสมบุญ เต็งผักแว่น ตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมชี้แจงข้อมูลให้ที่ประชุมรับฟังปัญหาน้ำเสียจาการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานแป้งมันฯ จนสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านใกล้เคียง
หลังจากรับฟังบรรยายสรุปจากรักษาการ สปก.จังหวัดฯ เรียบร้อย คณะตรวจสอบทั้งหมดลงพื้นที่จริงดังกล่าว พบว่ามีการใช้ลวดหนามมากันปิดล้อมทางเข้าด้านหน้าซึ่งเดิมเคยปิดแค่ป้ายห้ามเข้าเท่านั้น คณะฯ จึงต้องอ้อมไปเข้าพื้นที่ที่ดิน สปก.ด้านในอีกทางหนึ่งก่อนเดินเท้าสำรวจตรวจสอบโดยใช้เวลานานกว่า 2 ช.ม.
ซึ่งพบว่า มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวนหลายตัวกำลังแรงม้าสูง ในลักษณะการใช้งานอุตสาหกรรมมากกว่าจะเป็นการใช้งานเพื่อการเกษตร ตามวัตถุประสงค์ของการขออนุญาต สปก.ว่าใช้สำหรับเลี้ยงปลา และทำสาหร่าย
นายธนดล กล่าวภายหลังลงพื้นที่ว่า พื้นที่ สปก.13 แปลงเนื้อที่เกือบ 600 ไร่ที่ชาวบ้านได้ลงในระบบเอาไว้คือเลี้ยงปลาและเลี้ยงสาหร่ายแต่พอลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่จริงพบว่าไม่เป็นดังที่แจ้งเอาไว้ภาพที่เห็นก็น่าจะเป็นน้ำเสียและปลาไม่สามารถอาศัยอยู่ได้แน่นอนในส่วนผู้ครอบครองทั้ง13รายชื่อจะให้ปฏิรูปที่ดินเชิญทั้งหมดมาชี้แจงหากไม่สามารถชี้แจงได้จะเพิกถอนสิทธิ์ออกทั้งหมดในส่วนที่มีการขุดดินในพื้นที่ใหม่นั้นจะมีการแจ้งความดำเนินคดีซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.2542ม.3(15)ในส่วนของเจ้าหน้าที่สปกที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องมีการแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา157กลับทุกรายที่เกี่ยวข้องใน
“ส่วนของการดำเนินคดีกับโรงงานนั้นจะอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้การสืบสวนสอบสวนครับพบว่าเชื่อมโยงกระทำความผิดจะดำเนินคดีในส่วนของทางสปกจะแจ้งความในข้อหาขุดดินในพื้นที่ทั้ง2ข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ส่วนตัวเองไม่ได้กลัวใครหน้าไหนทั้งนั้นตอนนี้เหงาจริงจังกับเรื่องดังกล่าวเพราะท่านร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้ที่ดินสปกต้องมอบให้กับเกษตรกรตัวจริงไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจในส่วนของเจ้าหน้าที่สปก.ที่เกี่ยวข้องกลับพื้นที่ข้อพิพากษ์ที่อำเภอปากช่องนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดและตัวเองจะเป็นคนแจ้งความดำเนินคดีเองทั้งหมด” นายธนดล กล่าว
ด้าน นายกฤษฎา เปิดเผยว่า ต้องขอบคุณร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่ดิน สปก. โดยส่งนายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบการใช้ที่ดิน สปก.ใน จ.นครราชสีมา ตนเห็นการทำงานของที่ปรึกษารัฐมนตรีลงมาพื้นที่แล้วมีความรู้สึกชื่นชมภูมิใจในการทำงานมั่นใจว่าโรงงานนี้จะไม่ก่อความเดือดร้อนความเสียหายให้กับชาวบ้านหลังจากลักลอบปล่อยน้ำเสียลงมาแล้วเป็นเวลานาน ชาวบ้านที่แท้จริงจะได้ใข้ทำการเกษต เพื่อหาเลี้ยงชีพจริงๆไม่ใช่นายทุนสวมสิทธิแทน