ชาวเกษตรพร้อมมั้ย…ฝนจะมาแล้ว

ชลประทานติดตามสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (21 เม.ย.65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 44,964 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 21,026 ล้าน ลบ.ม. ได้มีการจัดสรรน้ำทั้งประเทศไปแล้ว จัดสรรน้ำไปแล้ว 21,614 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 97 ของแผนฯ เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 10,516 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ รวมกัน ปริมาณน้ำใช้การได้ 3,820 ล้าน ลบ.ม. และมีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 5,969 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 105 ของแผนฯ ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87 %E0%B8%8A%E0%B8%9B2

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้สำนักงานชลประทานทั่วประเทศเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง โดยเน้นย้ำให้ดำเนินการปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนแผนการระบายน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมรับมือปริมาณฝนที่อาจจะตกหนักในบางพื้นที่ และลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัย พร้อมกันนี้ได้ให้สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องจักร-เครื่องมือต่างๆ ให้กับบุคลากรของหน่วยงานในทุกพื้นที่ ให้สามารถบำรุงรักษาและใช้งานเครื่องจักร-เครื่องมือได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้มีการตรวจสอบอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม โดยพิจารณาปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งหมั่นกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างสม่ำเสมอ ติดตาม วิเคราะห์สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ แม่น้ำสายหลักต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับรู้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87 %E0%B8%8A%E0%B8%9B3