กอนช.แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำ 6 เขื่อนที่เพิ่มระดับสูงกว่าเกณฑ์ ขณะที่ ปภ.รายงานพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง พื้นที่เสี่ยงภัย สั่งเร่งช่วยเหลือ กอนช.เตือน!เตรียมพร้อมเฝ้าระวังเขื่อนใหญ่ 6 แห่ง

9 ส.ค.65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง 

ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน(อ.เมืองฯ ปาย ปางมะผ้า) เชียงใหม่(อ.แม่อาย ไชยปราการ จอมทองกัลยาณิวัฒนา) เชียงราย(อ.แม่สาย แม่สรวย แม่จัน) ตาก(อ.ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด) กำแพงเพชร(อ.เมืองฯ พรานกระต่าย) พิษณุโลก(อ.เนินมะปราง วัดโบสถ์ ชาติตระการ วังทอง นครไทย) พิจิตร(อ.ทับคล้อ ดงเจริญ) และเพชรบูรณ์(อ.หล่มสัก หล่มเก่า ชนแดน หนองไผ่ วังโป่ง) 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.ด่านซ้าย นาแห้ว) 

ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี(อ.ทองผาภูมิ สังขละบุรี) นครนายก(อ.เมืองฯ ปากพลี บ้านนา) ปราจีนบุรี(อ.เมืองฯ ประจันตคาม นาดี กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ) จันทบุรี(อ.ขลุง มะขาม เมืองฯ เขาคิชฌกูฏ แหลมสิงห์ ท่าใหม่) และตราด(ทุกอำเภอ)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคกลาง จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก) และพระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล เสนา ผักไห่)

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม

ภาคกลาง จ.จันทบุรี(อ.เมืองฯ มะขาม ขลุง เขาคิชฌกูฏ) และตราด(อ.บ่อไร่ เขาสมิง เกาะช้าง)

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา และภูเก็ต

7566F7D8 E107 4A1A A248 DB09802DD803

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) แจ้งเตือนเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 6 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล, กิ่วลม, กิ่วคอหมา, น้ำพุงอุบลรัตน์ และป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังให้เฝ้าระวังบึงบอระเพ็ดที่มีน้ำในเกณฑ์มากเช่นกัน

นอกจากนี้ ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่มในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย กาญจนบุรี จันทบุรี และตราด

และวันนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.)ยังได้สรุปรายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 สิงหาคม 2565 

เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงรายแม่ฮ่องสอน ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย มหาสารคาม ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด รวม 19 อำเภอ37 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 362 ครัวเรือน แยกเป็น 

ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ 

– เชียงราย เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน 

– แม่ฮ่องสอน เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน 

– ลำปาง เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7 ครัวเรือน 

– พิษณุโลก เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอวังทอง รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน 

– เพชรบูรณ์ เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหนองไผ่ อำเภอหล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอชนแดน รวม 11 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7 ครัวเรือน 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ 

– เลย เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูกระดึง รวม 3 ตำบล 8 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 17 ครัวเรือน 

– มหาสารคาม เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม รวม1 ตำบล 1 หมู่บ้าน 

ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ 

– ปราจีนบุรี เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน 

– จันทบุรี เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม รวม 14 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 166 ครัวเรือน 

– ตราด เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาสมิง และอำเภอคลองใหญ่ รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 142 ครัวเรือน 

ปัจจุบันทุกจังหวัดสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 65 ยังได้เกิดสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่อำเภอเทพา และอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา รวม 4 ตำบล บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 74 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 

19843EA0 C90C 4E3C ADA4 D936E4D33D3B
0B0790E2 F7F3 424E BD6A 8C1BF5666565