สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 ส.ค. 65

ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.พะเยา (187 มม.) จ.เชียงใหม่ (183 มม.) และ จ.ชียงราย (108 มม.)

แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 47,971 ล้าน ลบ.ม. (58%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 41,715 ล้าน ลบ.ม. (58%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ

เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลมป่าสักชลสิทธิ์ อุบลรัตน์ น้ำพุง หนองปลาไหล บางพระ และบึงบระเพ็ด

พื้นที่ประสบอุทกภัย ในระหว่างวันที่ 11–13 ส.ค. 65 บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยาน่าน ลำปาง แพร่ นครพนม เลย ปราจีนบุรี ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ พะเยา น่าน และพิษณุโลก

ตามที่ กอนช. ได้มีประกาศแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด(Upper Rule Curve) ปรับการควบคุมระดับน้ำและปริมาณน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

กรมชลประทาน ปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อัตราอยู่ระหว่าง 1,100 – 1,400 ลบ.ม./วินาที ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่ 11 – 13 ส.ค. 65 

B5A9B164 CB13 459E ACC2 9C05A186E7AB

โดยเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา บึงบอระเพ็ด น้ำพุง อุบลรัตน์บางพระ หนองปลาไหล และป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ

จะเกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือ จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำระหว่างวันที่ 11 – 13 ส.ค. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านอัตราประมาณ 1,100 – 1,400 ลบ.ม./วินาทีส่วนที่แม่น้ำสะแกกรัง สถานี Ct.19 ประมาณ 100 ลบ.ม./วินาที และลำน้ำสาขา อัตราประมาณ 100 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณระหว่าง 1,400 – 1,600  ลบ.ม./วินาที 

กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นในอัตราระหว่าง 1,100 – 1,400  ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.20 – 0.60 เมตร อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่จ.พระนครศรีอยุธยา(แม่น้ำน้อย)