เปิดวาร์ป…สัตว์น้ำ 13 ชนิด ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร ยกเว้นได้รับอนุญาตจากกรมประมง

17 มิถุนายน 2564 มีประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 มีผลบังคับใช้ในวันทึ่16 สิงหาคม 2564 เป็นต้มมา  

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดตามชื่อไทย(Thai name) ชื่อสามัญ (Common name) และชื่อ วิทยาศาสตร์(Scientific name) ได้แก่

สัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดได้แก่  ปลา 10 ชนิด ประกอบด้วย

D7784B07 DBB9 486E 8514 CC18D24BAB2A

1 .ปลาหมอสีคางดำ หรือ  Blackchin tilapia  หรือ Sarotherodonmelanotheron

2.ปลาหมอมายัน หรือ  Mayan cichlid หรือ Mayaherosurophthalmus

3.ปลาหมอบัตเตอร์ หรือ Zebra cichlid หรือ Heterotilapiabuttikoferi

7B4001DC 59F8 40AD 8D56 6C7D292A280E

4.ปลาทุกชนิดในสกุล Cichlaและปลาลูกผสม หรือ Peacock cichlid, Butterfly peacock bass หรือ  Cichlaspp.

FCB813E8 D7F9 4902 8397 EEC763FEC234

5.ปลาเทราท์สายรุ้ง หรือ Rainbow trout หรือ Oncorhynchusmykiss

6.ปลาเทราท์สีน้ำตาล  หรือ Sea trout หรือ Salmotrutta

7.ปลากะพงปากกว้าง  หรือ Largemouth black bass หรือ Micropterussalmoides

FE839F97 91A9 460B 8474 F4A5FC8E5311

8.ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช หรือ Goliath tigerfish, Giant tigerfish หรือ Hydrocynus  goliath

9.ปลาเก๋าหยก หรือ   Jade perch หรือ  Scortumbarcoo

EC19E219 524E 4E03 AF03 814940F35DB2

10.ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO

ชนิดสัตว์น้ำอื่น  ประกอบด้วย

1.ปูขนจีน หรือ Chinese mitten crab หรือ   Eriocheirsinensis

2.หอยมุกน้ำจืด  หรือTriangle shell mussel หรือ Hyriopsiscumingii

3.หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล  Hapalochlaena หรือ Blue-ringed octopus หรือ  Hapalochlaena spp.

F5D49795 23A8 48B3 9630 10BD1A42CC07
FB3E1DD0 1C37 478E 8207 010B84A30CD2
D4B597D1 A0D0 414A 982A 231CBD4CAD3E

ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

1. กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง ภายใน 30 วันหลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้วให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือ หน่วยงานกรมประมงอื่นๆในพื้นที่โดยด่วน

2. กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย

3. กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดยไม่เจตนาเกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย

4. กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน

5. ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558

E15DD85F FD94 42C1 9136 5581265AEF74
6C88BDC7 F9D4 4D13 9C61 3D43EDC4EBEC

บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีของปลาเก๋าหยกที่กำลังเป็นข่าวดังในเวลานี้ 

“ได้รับอนุญาต” แต่จะเป็นแบบไหนนั้น…รอติดตามข่าวจากกรมประมงกันครับ