อธิบดีกรมชลฯ ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อย สนับสนุนโครงการหลวงเลอตอ จ.ตาก

กรมชลประทาน ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อยพร้อมระบบส่งน้ำ สนับสนุนน้ำให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ และประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ปัจจุบันสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้แล้ว

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเอนก ก้านสังวอน ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล นายบุรีรัตน์ วงศ์บุรี เลขานุการกรม และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความพร้อมของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อยพร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดยมี นายฐนันดร์ สุทธิพิศาล ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน

330595084 1456171774918472 5151947322177885447 n
อธิบดีกรมชลฯติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อย

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ดำเนินการพัฒนาอ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อยพร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในการปลูกป่า และกิจกรรมอื่นๆของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก พร้อมทั้งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ชาวตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้แล้ว

334681916 149009284394308 5551479141576768387 n
อ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อย

สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่หินหลวงน้อย มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำสันทำนบดิน กว้าง 8 เมตร ยาว 123 เมตร สูง 23 เมตร มีความจุเก็บกัก 196,000 ลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารระบายน้ำล้นชนิด CHUTE SPILLWAY และอาคารท่อส่งน้ำลงลำน้ำเดิม ตั้งอยู่ที่ หมู่10 บ้านห้วยโป่ง ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในฤดูฝนกว่า 500 ไร่ และฤดูแล้งกว่า 100 ไร่ ช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและเกษตรกร รวมถึงเพิ่มความมั่นคงทางด้านน้ำ พัฒนาเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อีกด้วย

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ระหว่างวันที่ 6 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 ว่า  บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วยตลอดช่วง