กรมชลฯ เร่งเก็บกักน้ำ รับมือสถานการณ์เอลนีโญ ควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

กรมชลประทานเร่งเก็บกักน้ำ รับมือสถานการณ์เอลนีโญหลังกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า สถานการณ์เอลนีโญ จะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

     

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (20เม.ย. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 45,564ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ รวมกัน เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 13,857ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างฯ จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 65/66 ทั้งประเทศไปแล้ว 23,780ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 86ของแผนฯ (แผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศ 27,685 ล้าน ลบ.ม.) เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 8,579ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 95ของแผนฯ (แผนจัดสรรน้ำลุ่มเจ้าพระยา 9,100 ล้าน ลบ.ม.)

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

ด้านผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทั้งประเทศมีการเพาะปลูกไปแล้ว 10.36ล้านไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 6.35 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 96 ของแผนฯซึ่งขณะนี้บางพื้นที่มีการเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จจึงขอความร่วมมือเกษตรกรงดการทำนาปรังต่อเนื่อง (นาปรังรอบ2) เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ 11 ทุ่งที่กรมชลประทานได้ปรับปฏิทินเพาะปลูกให้เกษตรกรได้เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนฤดูน้ำหลากจะมาถึง ปัจจุบันในพื้นที่ทุ่งบางระกำได้เริ่มเพาะปลูกแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นมา ส่วนอีก 10 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานได้เริ่มส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อให้เกษตรกรเตรียมเพาะปลูกได้ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากอุทกภัย

   

ภัยแล้ง

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า สถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติจึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศให้เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์สามารถรองรับสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตพร้อมปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 66 ที่กรมชลประทานกำหนด ได้แก่ 1.จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี 2.บริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก 4.กักเก็บน้ำในเขื่อน รวมไปถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้มากที่สุด 5.วางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูฝนปี 66 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า