กรมประมงจับมือภาคเอกชน จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กลุ่มประมงพื้นบ้านสามร้อยยอด

ณ บริเวณชายหาดสามร้อยยอด ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง ร่วมกับชุมชนชาวประมง รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ภายใต้ชมรม CSR เพื่อการท่องเที่ยวตำบลสามร้อยยอด จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล ภายใต้โครงการ “รักษ์ทะเลสามร้อยยอด” โดยร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวนกว่าหนึ่งล้านตัว คืนสู่ธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูคืนสมดุลสู่ระบบนิเวศท้องทะเลไทย
         

นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า  จากการเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจจากปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรประมงที่เกิดจากหลายสาเหตุ ส่งผลให้ในทุกมิติในภาคการทำการประมงได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยเฉพาะด้านการสร้างรายได้จากอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงที่ลดลง ผันแปรตามปริมาณสัตว์น้ำ และระบบนิเวศที่มีปริมาณสัตว์น้ำไม่เพียงพอต่อแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอาหารทะเล เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รสชาติดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 1
อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล

“ในการนี้ กลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลสามร้อยยอด ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ร่วมกับชุมชนชาวประมง รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ภายใต้ชมรม CSR เพื่อการท่องเที่ยวตำบลสามร้อยยอด จึงได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล ภายใต้ชื่อโครงการ “รักษ์ทะเลสามร้อยยอด”  โดยปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 1,050,020 ตัว ประกอบด้วย พันธุ์ปลานวลจันทร์ทะเล 50,000 ตัว ลูกพันธุ์ปูม้า 1,000,000 ตัวและแม่พันธุ์ปูม้า(มีไข่นอกกระดอง) 20 ตัว เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์”

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87
อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล

นอกจากนี้ ยังมีมีกิจกรรมการวางซั้งกอ จำนวน 30 ต้น เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในพื้นที่หาดสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพประมงและสร้างรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
         

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 4 1
วางซั้งกอเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลให้มีศักยภาพด้านประมง ทั้งในมิติความหลากหลายและปริมาณสัตว์น้ำให้มีปริมาณเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำของประชาชนอย่างยั่งยืนและให้อาชีพชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นในรูปแบบการนำผลผลิตสัตว์น้ำที่จับมาได้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในแหล่งชุมชนประมงพื้นบ้านต่อไป