กรมชลฯลุยพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง หวังบรรเทาปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง

กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี นำเสนอ 4 โครงการสำคัญ หวังบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้วางแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอย่างเป็นระบบในลุ่มน้ำห้วยหลวง โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี เพื่อนำเสนอโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัย

%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2
ลุยพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง


สำหรับ 4 โครงการสำคัญ ประกอบไปด้วย

โครงการฝายบ้านกุดหมากไฟ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 8,300 ไร่


โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านขอนยูงน้อย ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ ความจุ 4.38 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 6,789 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ปีละกว่า 2 ล้าน ลบ.ม.

โครงการประตูระบายน้ำห้วยเชียง 2 ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 1,300 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ประมาณปีละ 4.13 ล้าน ลบ.ม.

โครงการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำบ้านสามพร้าว ที่สร้างปิดกั้นลำน้ำห้วยหลวง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี มีความจุเก็บกักประมาณ 1.88 ล้าน ลบ.ม.

%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2 2 1
ลุยพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ซึ่งมุ่งเน้นในการบรรเทาทั้งปัญหาอุทกภัย ปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงการพัฒนาลุ่มน้ำและพื้นที่ชลประทานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ จะทำให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 99,728 ไร่ มีพื้นที่รับประโยชน์ 24,289 ไร่ และมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 103.36 ล้าน ลบ.ม. ช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ รวมทั้งยังจะทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน ตอบสนองต่อการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น