กรมชลประทานส่งเครื่องจักรเครื่องมือ ช่วยชาวสวนทุเรียนอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประสบภัยแล้ง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น ในพื้นที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จากสภาพฝนที่ตกน้อย ส่งผลให้สวนทุเรียนของเกษตรกรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงได้สั่งการให้สำนักเครื่องจักรกล และโครงการชลประทานชุมพร ร่วมกับศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2566 จังหวัดชุมพร จัดส่งเครื่องจักร เครื่องมือ รถบรรทุกน้ำ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนทุเรียนเป็นการเร่งด่วน ด้วยจัดส่งรถบรรทุกน้ำ 15 คัน เพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภค และการเกษตร นอกจากนี้ ยังได้นำรถแบคโฮ 3 คัน พร้อมด้วยรถบรรทุก (เทรลเลอร์) เข้าไปขุดลอกแหล่งน้ำในคลองดินแดง หมู่ที่ 5 ตำบลเขาค่าย และขุดลอกแหล่งน้ำในคลองสวีหนุม หมู่ที่ 4 ตำบลเขาค่าย เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ ทั้งนี้ ยังได้วางแผนที่จะสนับสนุน เครื่องจักร เครื่องมือ รถบรรทุก เข้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติมจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ

%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 5
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

“ได้สั่งการให้สำนักเครื่องจักรกลและโครงการชลประทานทุกแห่ง เตรียมพร้อมทางด้านเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศได้อย่างทันท่วงที หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อไปยังโครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา” นายประพิศฯ กล่าวในที่สุด

%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
สวนทุเรียนอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประสบภัยแล้ง
%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 3
กรมชลฯส่งเครื่องจักรช่วยชาวสวนทุเรียน

กรมชลฯใช้โครงข่ายน้ำภาคตะวันออกสูบกลับ- เติมน้ำในอ่างประแสร์ ป้องเศรษฐกิจภาคตะวันออก

อีกความเคลื่อนไหวหนึ่งของกรมชลประทาน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อวางแผนป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำ หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือนพ.ค.- ก.ค. 66 รวมถึงผลกระทบปรากฏการณ์เอลนิโญ่ ส่งผลให้มีฝนน้อยกว่าค่าปกติ จึงได้กำชับให้ใช้โครงข่ายน้ำในภาคตะวันออกให้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น โดยจะต้องไม่ให้กระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคและเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นอกจากนี้ ยังได้เตรียมแผนสำรอง เช่น เครื่องสูบน้ำ หรือรถบรรทุกน้ำ ที่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที และให้ตรวจสอบการทำงานของอาคารชลประทาน เครื่องมือ เครื่องจักรให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพตลอดเวลา

%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87
เติมน้ำในอ่างประแสร์ ป้องเศรษฐกิจภาคตะวันออก

“ได้เน้นย้ำในเรื่องของการผันน้ำว่า จะต้องเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด เมื่อระดับน้ำสามารถสูบได้ตามข้อตกลงกับกลุ่มผู้ใช้น้ำต้นทางให้ผันน้ำทันที เพื่อสำรองน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด ล่าสุด(1 มิ.ย. 66)มีรายงานว่าระดับน้ำที่คลองสะพานเพิ่มมากขึ้นจากฝนที่ตกในพื้นที่ อยู่ในระดับ+18.20 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง(ม.รทก.) สำนักงานชลประทานที่ 9 จึงได้เริ่มสูบน้ำจากคลองสะพานไปเติมให้กับอ่างเก็บน้ำประแสร์ ศักยภาพสูงสุดได้มากถึง 470,000 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวัน ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำประแสร์ ที่ปัจจุบันมีน้ำอยู่ 196 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น จนสามารถเป็นศูนย์กลางในการกระจายน้ำไปช่วยในการผลิตน้ำประปา และอุตสาหกรรม ในพื้นที่ EEC ได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ จะได้สูบผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิตไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อรักษาระดับน้ำและคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับปริมาณน้ำต้นทุนที่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาของจังหวัดชลบุรีต่อไป” นายประพิศฯ กล่าวในที่สุด

%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87 1
เติมน้ำในอ่างประแสร์ ป้องเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ด้านนายทินกร เหลือล้น ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 เปิดเผยว่า อธิบดีกรมชลประทานได้กำชับให้บริหารจัดการน้ำและบริหารการสูบผันน้ำตามแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งทางสำนักงานชลประทานที่ 9 ได้วางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเตรียมระบบสูบกลับน้ำทั้งโครงข่าย อาทิ การผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปลงอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ก่อนจะผันต่อไปยังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ตามที่ได้ประชุมร่วมกับคณะทำงาน Keyman Water Warroom ภาคตะวันออก ที่จะเริ่มสูบน้ำตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 ได้วันละประมาณ 250,000 ลบ.ม. หรือเดือนละ 7.50 ล้าน ลบ.ม. เมื่อสิ้นฤดูฝนวันที่ 31 ต.ค. 66 จะหารือกับ JMC อ่างฯประแสร์ และ คณะทำงาน Keyman Water Warroom ภาคอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งเตรียมความพร้อมสูบผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิต มาลงอ่างเก็บน้ำบางพระ ซึ่งในปีนี้วางแผนสูบผันน้ำตั้งแต่เดือน ส.ค.ถึงเดือน พ.ย. 66 แต่หากคุณภาพน้ำค่าความเค็มเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนแผนที่วางไว้ จะสูบผันน้ำในทันที เป็นการปรับแผนการผันน้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อรองรับการใช้น้ำของพื้นที่ EEC จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะชิงเทรา ภายใต้ข้อตกลงของกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ รวมไปถึงการเฝ้าระวังค่าความเค็มด้วย โดยปริมาณความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ EEC จากโครงข่ายน้ำภาคตะวันออก จะอยู่ที่ประมาณ 1.20 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน

%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87 2
เติมน้ำในอ่างประแสร์ ป้องเศรษฐกิจภาคตะวันออก