พัฒนาแหล่งน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ต้นแบบบรรเทาภัยแล้งที่โคราช

นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เป็นประธานเปิดเครื่องสูบน้ำหางนาคตามภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อดึงน้ำจากแหล่งน้ำที่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ของเกษตรกรเพื่อให้สามารถใช้น้ำนั้นได้ตามโครงการซ่อมแซมเสริมศักยภาพระบบกระจายน้ำคลองลุง บ้านจานเหนือ ม.13 ต.กำปัง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา โดยได้รับงบประมาณในการจัดทำระบบชักน้ำขึ้นที่สูงดังกล่าวจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 1
พัฒนาแหล่งน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

นายกฤษฎา กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้งบางแห่งที่ยังมีแหล่งน้ำอยู่บ้าง แต่ประชาชนไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้ สถาบันปิดทองหลังพระฯ จึงได้น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ด้วยการซ่อมแซมและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งหน่วยราชการยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะขัดกับระเบียบการใช้งบประมาณ เช่น ในปี 2566 จังหวัดนครราชสีมา หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายที่สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้เข้ามาดำเนินการที่หมู่บ้านจานเหนือ ต.กำปัง อ.โนนไทย ซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่กรมทรัพยากรน้ำได้ก่อสร้างไว้ ตั้งแต่ปี 2558 เก็บน้ำได้ 260,000 ลูกบาศก์เมตร แต่ประสบปัญหาเกษตรกรที่อาศัยอยู่รอบอ่างไม่สามารถนำน้ำไปใช้เพาะปลูกทำการเกษตรได้ เนื่องจากระดับน้ำในอ่างอยู่ต่ำกว่าแปลงนาและพื้นที่ทำกินของเกษตรกร สถาบันปิดทองหลังพระฯจึงเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขดังกล่าว ตามคำร้องขอของเกษตรกรในพื้นที่

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 4
พัฒนาแหล่งน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

ทั้งนี้ สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้ส่งอาสาสมัครซึ่งเป็นอดีตวิศวกรของกรมชลประทานลงมาสำรวจและออกแบบวางระบบดึงน้ำขึ้นจากอ่าง โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยใช้เครื่องติดท่อหางนาคสูบน้ำเข้านาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวิดน้ำเข้านา โดยปรับเปลี่ยนเป็นใช้เครื่องติดท่อหางนาคสูบน้ำเข้าบ่อขนาดเล็กก่อนจำนวน 1 บ่อ ที่สร้างขึ้นอยู่ติดกับขอบอ่างเก็บน้ำจนระดับน้ำในบ่อเล็กสูงขึ้นกว่าระดับน้ำในอ่างจนมีแรงดันน้ำในบ่อเล็กเข้าท่อส่งน้ำจากบ่อเล็กดังกล่าว ไปยังบ่อย่อยซึ่งเป็นจุดกระจายน้ำรอบที่นาและที่ทำกินของเกษตรกรรอบอ่างน้ำ จำนวน 300 ไร่

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 5
พัฒนาแหล่งน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

ในการวางท่อกระจายน้ำนั้นอาสาสมัครวิศวกรของสถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้ใช้โดรนที่ติดเครื่องวัดระดับความสูง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่บินสำรวจวัดระดับความสูงและความลาดเอียงของพื้นที่ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางท่อน้ำวีโฮไลท์ฝังไว้ใต้ดินลึกประมาณ 70 เซนติเมตร โดยไม่ต้องขุดคลองส่งน้ำหรือคลองไส้ไก่ซึ่งจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องเสียพื้นที่ทำกิน รวมทั้งเกษตรกรสามารถใช้รถไถหน้าดินได้ไม่มีผลกระทบต่อตัวท่อ ทำให้ใช้พื้นที่ได้เต็มศักยภาพ ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีและมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เกษตรกรสามารถทำกิจกรรมต่อยอดอาชีพการเกษตรหลังจากมีระบบน้ำ เช่น การปลูกข้าวแบบนาดำเพื่อเพิ่มผลผลิต การเลี้ยงปลาในร่องข้างนาข้าว การปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแพะ เป็นต้น

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 2 1
พัฒนาแหล่งน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

สำหรับงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานโครงการนี้สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 580,000 บาท ทั้งนี้ สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการดำเนินงานโครงการของสถาบันปิดทองหลังพระตามหลักการทรงงาน ไว้ดังนี้

1) มีการร้องขอจากประชาชนหรือเป็นความต้องการจากประชาชนในพื้นที่

2) ระหว่างดำเนินงานโครงการของสถาบันปิดทองหลังพระฯ จะมีทั้งภาคราชการ และภาคเอกชนรวมทั้งประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการโดยยินดีเสียสละแรงงานเข้ามาช่วยกันจัดทำโครงการด้วย

3) เมื่อโครงการเสร็จแล้ว ประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการต้องรวมกลุ่มกันเพื่อแบ่งหน้าที่กันบริหารจัดการในการใช้น้ำ บำรุงรักษา ตามกฎ กติกาที่ตกลงกันเอง

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 3
พัฒนาแหล่งน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน