กรมฝนหลวงฯ จ่อขึ้นทำฝนหลวง หวังลดความรุนแรงพายุลูกเห็บ

ฝนหลวงฯ จังหวัดเชียงใหม่บรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บ และบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ

วันที่ 18 เมษายน 2565 นายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า จากข้อมูลสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางตอนบนของประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความชื้นยังคงพัดปกคลุมทางตอนบนของประเทศ ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปของประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงขอให้ประชาชนในประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศในระยะนี้ไว้ด้วย สภาวะอากาศดังกล่าว ส่งผลให้มีแนวโน้มในการปฏิบัติการฝนหลวงได้

S 6946854

โดยเมื่อวานนี้ (17 เมษายน 2565) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้วางแผนบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 9 หน่วยปฏิบัติการ เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บให้กับบางพื้นที่ของ จ.เชียงใหม่ ลพบุรี ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ บรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าบริเวณพื้นที่ อ.สามเงา จ.ตาก เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนห้วยหลวง และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด รวมถึงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา ชลบุรี และสระแก้ว

S 6946849
สำเริง แสงภู่วงค์
อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร


ด้านนายรัฐกร วรุณสุขะศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการติดตามสภาพอากาศในวันนี้จากการตรวจสภาพอากาศของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรทั่วทุกภูมิภาค พบว่า ระยะนี้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีมากกว่า 60% และสภาพอากาศเข้าเงื่อนไข จึงมีแผนขึ้นบินเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จำนวน 5 หน่วยฯ ดังนี้

  • หน่วยฯ จังหวัดแพร่ มีแผนให้การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จังหวัดพิษณุโลก แพร่ พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ น่าน และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย
    บำรุงแดน และอ่างเก็บน้ำในพื้นที่รับผิดชอบ
  • หน่วยฯ จังหวัดนครราชสีมา มีแผนให้การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และพื้นที่รับน้ำเขื่อน
    ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ มหาสารคาม สุรินทร์ และจังหวัดร้อยเอ็ด
  • หน่วยฯ จังหวัดกาญจนบุรี มีแผนให้การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.กาญจนบุรี นครปฐมนนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ราชบุรี และกรุงเทพมหานคร
  • หน่วยฯ จันทบุรี มีแผนให้การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทราและพื้นที่
    ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา
  • หน่วยฯ หัวหิน มีแผนให้การช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และอ่างเก็บน้ำจังหวัดเพชรบุรี
S 6946851
รัฐกร วรุณสุขะศิริ
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง

ในขณะที่อีก 6 หน่วยปฏิบัติการ ยังคงติดตามสภาพอากาศระหว่างวันอย่างใกล้ชิด หากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการ ทุกหน่วยฯ มีความพร้อมสามารถวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการได้ทันที ทั้งนี้ พี่น้องเกษตรกรและประชาชน