ด่วน มหาดไทย ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนด้วยกลยุทธ์การสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ ด้าน”สังศิต” ชี้บทบาทมหาดไทยเหมาะการจัดหาแหล่งน้ำส่วนท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาความยากจน

615148
คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือแจ้งมาที่ตน ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนด้วยกลยุทธ์การสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ กระทรวงมหาดไทย” แล้ว

S 4366679
S 4366676
S 4366678

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาและคณะ ได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566

โดยระบุอำนาจหน้าที่ไว้ว่าพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนด้วยกลยุทธ์การสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ในพื้นที่นอกเขตชลประทานร่วมกับคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

ทั้งนี้ นายสังศิตเห็นว่า “มหาดไทย” มีหน่วยงานที่รู้เห็นสภาวะทุกครัวเรือนทุกหมู่บ้าน รู้ข้อมูลสภาพพื้นที่ รู้ลึกถึงความรู้สึก ความต้องการของประชาชนอย่างแม่นยำมากกว่าหน่วยงานอื่น

มหาดไทยมีหน่วยงาน 2 สายคู่ขนาน สายแรกคือ ปกครองตั้งแต่ระดับจังหวัด (ผู้ว่าฯ) อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) ครอบคลุมพื้นที่ 7,255 ตำบล/ 75,086 หมู่บ้าน สายที่สองคือ (อปท.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับจังหวัดถึงระดับตำบล มีจำนวนถึง 7,850 แห่ง (อบจ.+เทศบาลฯ+อบต.)

พื้นที่นอกเขตชลประทานรวม 116.45 ล้านไร่ (ร้อยละ 78 ของพื้นที่การเกษตรท้ังประเทศ) ซึ่งครอบคุลมพื้นที่ 7,425 ตําบล และเกษตรกรร่วม 6 ล้านครัวเรือน การรับรู้ความทุกข์ยาก สภาพภูมิประเทศในพื้นที่ต่างอยู่ในสายตาทั้งหน่วยงานสายปกครองและสายปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น

ฉะนั้น หน่วยงานสายปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดังกล่าวจึงมีศักยภาพต่อการกำหนดเป้าหมายในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข บริหารทรัพยากรน้ำของท้องถิ่น แก้ปัญหาแล้งเพื่อแก้ปัญหาความยากจนได้แม่นยำมากกว่าหน่วยงานอื่น นายสังศิตกล่าว

นายสังศิต ยกกรณีอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนของกระทรวงมหาดไทย เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาแล้ง โดยกรมการปกครองมีโครงการ “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” อำเภอเมืองน่านได้ขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น เป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย 7 ภาคี ประกอบด้วย 1. นายอำเภอ 2. ปลัดอำเภอ 3. ตัวแทนผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตำแหน่ง 4. ตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 5. ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ 6. ผู้นำภาคศาสนา 7. ผู้นำภาคประชาชน 8. ผู้นำภาควิชาการ 9. ผู้นำภาคเอกชน ฯ เป็นต้น ซึ่งอำเภอได้เสนอโครงการเบื้องต้น (Project Brief) เพื่อขับเคลื่อนการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ไปยังกรมการปกครอง

ที่สุดจะพบว่าหน่วยงานระดับพื้นที่เห็นพ้องกันว่า “จําเป็นต้องจัดทําโครงการการบริหารจัดการน้ำในการเกษตรเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ซึ่งหลายหน่วยงานเห็นตรงกันว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอําเภอเมืองน่านเป็นพื้นที่ภูเขาลาดเอียงจึงไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคให้เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่อําเมือง น่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทําให้ในช่วงฤดูแล้งจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับใช้ในการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งได้จัดกิจกรรมสร้างฝายแกนดินซีเมนต์ จำนวน 10 ฝาย ในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ซึ่งขณะนี้สร้างฝายเสร็จแล้ว 7 ตัว หลังจากหมดช่วงฝนจะดำเนินการต่อทันที (ดูภาพและรายละเอียดการสร้างได้ตามไฟล์ที่แนบมาพร้อมนี้)

S 9494668
S 2170936