นักวิทย์จีนออกแบบ ‘จักรกลจิ๋วเปลี่ยนสี’ เลียนแบบปลาหมึก

ทีมนักประดิษฐ์หุ่นยนต์ของจีนได้ออกแบบจักรกลขนาดเล็กมาก ซึ่งสามารถเลียนแบบ “ปลาหมึก” ที่มีเม็ดสีของเซลล์เปลี่ยนแปลงสีสันตามความเครียดทางเคมี

การเรืองแสงเพื่อตอบสนองการสื่อสารทางเคมีนั้นปรากฏอยู่ทั่วโลกแห่งธรรมชาติ ดังเช่นปลาหมึกที่เปลี่ยนแปลงสีสันยามหลบลี้หนีภัยจากบรรดานักล่า

ผลการศึกษาจากวารสารไซเอนส์ โรโบติกส์ (Science Robotics) ระบุว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง ได้รวมการเรืองแสงเพื่อตอบสนองทางเคมีนี้เข้ากับจักรกลนาโนระดับดีเอ็นเอ

จักรกลนาโนระดับดีเอ็นเอที่คณะนักวิทยาศาสตร์จีนสร้างขึ้นมานั้นสามารถเรืองแสงเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดภายในเซลล์

การทดสอบในหลอดทดลองพบอุปกรณ์ระดับนาโนนี้ระบุและแสดงปริมาณการดูดซึมและการปลดปล่อยสสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

ขณะเดียวกันอุปกรณ์ระดับนาโนนี้ยังเปลี่ยนแปลงรูปทรงโดยอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองค่าความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่การแสดงสีสันเรืองรอง

ผลการศึกษาระบุว่าการออกแบบใหม่นี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการใช้หุ่นยนต์ศึกษาระบบสิ่งมีชีวิตและปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์กับสิ่งมีชีวิต

D1295F2E 8892 4062 AC18 4092C9AFB263

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว(Xinhua)