พืชผัก .. สมุนไพรไทย .. คุณค่าเชิงรสชาติไทยแท้อาหารไทยทั่วโลก

จากการประกาศของเวปไซด์ CNN ในปี 2564 แกงมัสมั่นจากประเทศไทย ได้ถูกยกให้เป็นอันดับ 1 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก พืชผักสมุนไพรทำให้องค์ประกอบของอาหารไทยมีคุณลักษณะเด่นในกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว อีกทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้อาหารไทยเป็นที่นิยมบริโภคทั่วโลก 

อาหารไทยที่ปรุงด้วยสมุนไพรไทยมีความหลากหลายทางเอกลักษณ์ ทำให้มีความโดดเด่น ทั้งในแง่กลิ่นรสชาติ และคุณค่า จนได้รับการเลือกให้เป็นเมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก 

7A977EA1 7682 4937 958B 85FD7628184F

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า อาหารรสชาติไทย ต้องถูกปรุงด้วยสมุนไพรไทย จึงจะเป็นการรักษาคุณค่าเชิงรสชาติของอาหารไทยแท้แก่ธุรกิจอาหารไทยทั่วโลก กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของพืชผักสมุนไพร เพื่อรักษารสชาติแท้ 

โดยมีการสำรวจ รวบรวม คัดเลือกพืชผักสมุนไพรที่มีลักษณะเด่น มีกลิ่น และรสชาติที่เหมาะสม มาจัดเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมในธนาคารเชื้อพันธุกรรมพืชในสภาพ เมล็ดพันธุ์ แปลงปลูก และ ธนาคารดีเอ็นเอรวมถึงจัดเก็บพรรณไม้อ้างอิงในพิพิธภัณฑ์พืช และจัดทำฐานข้อมูลเชิงวิชาการและข้อมูลเชิงเศรษฐกิจ

0C8A1227 2646 48EC A8D0 050353391E3F

ในการสำรวจข้อมูลได้เก็บรวบรวมพืชผักสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบหลักในการปรุงอาหารไทยไว้ 23 ชนิด ได้แก่ กระชาย กระเทียม กะเพรา ขมิ้นขาว ข่าอ่อน ขิงอ่อน ชะอม ต้นหอม ตะไคร้ ถั่วพู ผักชี ผักชีฝรั่งพริกขี้หนูสวน พริกชี้ฟ้า พริกไทย มะกรูด มะเขือเปราะ มะเขือพวง แมงลัก ยี่หร่า สะระแหน่ หอมแดง และโหระพา จากแหล่งปลูกทั่วประเทศ มาปลูกรวบรวมพันธุ์ไว้ในแปลงของกรมวิชาการเกษตรเพื่อรักษาเชื้อพันธุกรรมของพืชผักสมุนไพรและคัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นในการประกอบอาหารไทย

511EFD77 DD6C 4359 9DCB F117F47F9706

การคัดเลือกพันธุ์เด่น จะคัดความเด่นในด้านรสชาติ รวมถึงความนิยมในท้องตลาด แหล่งปลูก อายุการเจริญเติบโตของพืช และการให้ผลผลิตของพืช ทั้ง 23 ชนิด ชนิดละ 2 แหล่งปลูก เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ ในโครงการวิจัยคุณค่าทางโภชนาการและสมบัติเชิงสุขภาพของผักและสมุนไพรที่ใช้ในตำรับอาหารไทย ที่ทำวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  

E9F969DC 7BB9 46B3 A8F7 A500A76F48A2

สายพันธุ์ทีได้รับการคัดเลือกจะถูกจัดเก็บรักษาเชื้อพันธุ์กรรมในสภาพต่างๆ ได้แก่ เก็บรักษาในสภาพแปลงปลูก โดยนำมาปลูกรวบรวมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และ แปลงของสถาบันวิจัยพืชสวน 

มีการเก็บรักษาในสภาพพรรณไม้อ้างอิงในพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ชื่อพืชที่ถูกต้อง ในรูปแบบตัวอย่างพรรณไม้แห้งอ้างอิง เก็บรักษาในสภาพเมล็ดพันธุ์ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมพืช และ เก็บรักษาในสภาพดีเอ็นเอในธนาคารเชื้อพันธุกรรมพืช เพื่อใช้เป็นดีเอ็นเออ้างอิงสำหรับนำไปใช้ในการศึกษาเชื้อพันธุกรรม 

DD15C5E1 C57B 41DE 872E A7DDA6F22F30

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ จะเป็นต้นน้ำที่รวบรวมพืชผักสมุนไพรที่คัดเลือกลักษณะเด่นและรสชาติที่แท้จริงตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การใช้พืชสมุนไพรประกอบเป็นอาหารไทย และการแปรรูปตลอดจนคุณค่าทางโภชนาการเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ และสร้างความยั่งยืน สำหรับธุรกิจอาหารไทย โดยเฉพาะวัตถุดิบเพื่อรักษาคุณค่าเชิงรสชาติแท้ ซึ่งจะเป็นหนทางสู่ความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายครัวไทยสู่ครัวโลก และ รักษาแชมป์เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกต่อไป 

7DB50CC7 69E2 44AA BC3D B5C0EC61CE90