หมอกลงยามเช้า…มีผลต่อการออก’ดอกทุเรียน’อย่างไร…?

ธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์ รักษาการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า สภาพอากาศในตอนเช้าเริ่มมีหมอกลงหนาจัด ห้วงดังกล่าวมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อนข้างสูง อยู่ในช่วง 69 – 91 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสภาพอากาศที่หนาวเย็นแต่มีความชื้นในอากาศสูง ประกอบกับอากาศร้อนจัดในช่วงกลางวัน มีผลต่อการออกดอกทุเรียน คือ…

9F0774A3 F361 4D12 9D56 2D5B3B2596C0

การมีฝนตกเป็นระยะๆ มีหมอกมากในช่วงใกล้เช้า ทำให้ดอกทุเรียนที่บานในช่วงนี้มีปัญหาเรื่องการติดผล เนื่องจากหน้าฝนทำให้ความเข้มข้นของสารละลายน้ำตาลบนยอดเกสรตัวเมียเจือจาง ส่งผลให้ละอองเกสรตัวผู้ตาย หรือสามารถงอกหลอดละอองเกสรเพื่อผสมกับไข่ในรังไข่ได้น้อย 

21B50BED D06E 4409 99AC 51077807E5F9

เมื่อไม่มีการปฏิสนธิหรือมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นน้อย จึงทำให้การติดผลของต้นทุเรียนน้อย หรือผลอ่อนร่วงเป็นปริมาณมาก เนื่องจาก ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน

-ทุเรียนที่ดอกอยู่ในระยะหางแย้ กำลังขึ้นลูก ถ้ามีใบอ่อน จะทำให้ทุเรียนติดลูกในลักษณะรูปทรงบิดเบี้ยว (ทรงเป็ด)

-ถ้าอยู่ในระยะดอกหอม ความชื้นสูง จะมีไนโตรเจนสูง หากมีฝนตกลงมาจะทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อน

-ระยะเหยียดตีนหนูและไข่ปลาตาปู หากช่วงเช้ามีหมอกลง แต่กลางวันอากาศร้อน จะไม่มีการพัฒนาของดอก ดอกจะฝ่อไปในที่สุด

42835E35 8D7B 4EB0 A2A6 C4247C84E9DF

โรคใบจุด (Leaf Spot)

เมื่ออากาศเช้าเริ่มมีหมอกลง มีความชื้นสูงในตอนเช้าสลับกับมีฝนปรอย หรือฝนสลับแดด ทำให้เกิดเชื้อรา ใบจุดเข้าทำลายได้  โรคใบจุด (Leaf Spot) เกิดจากเชื้อราหลายชนิด ดังนี้

-เชื้อ Colletotrichum sp. ซึ่งทาให้เกิดโรคแอนแทรคโนส ใบอ่อนจะมีสีซีดคล้ายโดนน้าร้อนลวก ส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดดา ๆ ส่วนใบแก่เป็นจุดกลมขอบแผลสีเข้ม และมีการขยายขนาด

-เชื้อรา Phomopsis sp. ทาให้เกิดเนื้อเยื่อตายบริเวณใบแก่ มีขนาดจากัด

-เชื้อรา Phyllosticta sp. ทาให้เนื้อเยื่อตายบริเวณปลายใบ และมักมีเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ปะปนเล็กน้อย

การป้องกัน-กำจัด  ฉีดพ่นทุเรียนระยะใบอ่อน ด้วย สารกลุ่ม โพรคลอราช ผสมกับ คาเบ็นดาซิม

EE1A4358 3894 47FF A4AC 5FF74FC4D440

ที่มาข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี