จีนปล่อย”แอลลิเกเตอร์แยงซี”สู่ป่าหลายร้อยตัว หลังเพิ่มประชากรสำเร็จด้วยการผสมเทียม

มณฑลอันฮุยของจีนเริ่มปล่อย ‘แอลลิเกเตอร์แยงซี’ ที่เกิดจากการผสมเทียม สู่ป่าหลายร้อยตัว หลังจากมีสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ขั้นวิกฤต

เจ้าหน้าที่ในอำเภอหลางซี มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน ปล่อยแอลลิเกเตอร์จีน จากการเพาะพันธุ์เทียม ลงแหล่งน้ำเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติในท้องถิ่น

7BE17DAE 1599 4F70 9C14 8F90B832006E

แอลลิเกเตอร์จีนหรือแอลลิเกเตอร์แยงซี ซึ่งเกิดจากเพาะพันธุ์เทียมกว่า 370 ตัว จะถูกปล่อยสู่ป่าของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติ ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ แอลลิเกเตอร์แยงซีถือกำเนิดบนโลกมาตั้งแต่กว่า 200 ล้านปีก่อน ถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่ได้รับการคุ้มครองระดับสูงสุดในจีน

2A88DC2E CE85 4508 AC58 C0FADCC351F3

มณฑลอันฮุย ดำเนินมาตรการคุ้มครองแอลลิเกเตอร์จีน ซึ่งรวมถึงการปล่อยสู่ป่าธรรมชาติและการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ปี 2019 เพื่อฟื้นฟูจำนวนประชากรสัตว์สายพันธุ์นี้

จำนวนประชากรแอลลิเกเตอร์จีนที่อาศัยในป่าเพิ่มสูงเกิน 1,000 ตัว โดยแอลลิเกเตอร์เหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติและขยายพันธุ์สำเร็จ

D4B5F63C 552C 4921 8BE3 D3179E10A866

แอลลิเกเตอร์จีน หรือ จระเข้ตีนเป็ดจีน เป็นแอลลิเกเตอร์หนึ่งในสองชนิด ที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alligator sinensis มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร น้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัม ทำรังด้วยการขุดโพรงวางไข่ที่ชายหาดริมฝั่งแม่น้ำ พบอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แถบมณฑลอันฮุย เจียงซูและเจ้อเจียงเท่านั้น 

แอลลิเกเตอร์ชนิดนี้ เคยมีอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีน แต่ในปัจจุบันถูกจัดเป็นหนึ่งใน 10 อันดับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งในอนาคตของโลกเนื่องจากปัญหาด้านมลพิษ และอุณหภูมิที่สูงขึ้น รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตของมัน 

F8F9E7E1 7676 4B9F 807E 202F71062D86

คาดการณ์กันว่า มีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีน อาศัยอยู่ในธรรมชาติราว 120 ตัว ซึ่งสถานะการอนุรักษ์ของแอลลิเกเตอร์จีน จัดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต และติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ และอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 ของไซเตส ซึ่งห้ามค้าขายโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะกระทำไปเพื่อการอนุรักษ์หรือวิจัย แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศต้นกำเนิดเสียก่อน

4291E35D AF55 41A1 BEEA BFD0929C7FE1

แอลลิเกเตอร์ แม้จะดูคล้ายจระเข้ แต่ก็มีลักษณะแตกต่างกัน เพราะช่วงปากของ “จระเข้” จะแหลมและดูเป็นรูปตัว V ส่วนของ “เกเตอร์” จะกว้างและดูเป็นรูปตัว U

ทั้งจระเข้ และ แอลิเกเตอร์ จัดอยู่ในไฟลัมเดียวกัน แต่มีวงศ์ (Family) ที่ต่างกัน โดยจระเข้จัดอยู่ในCrocodylidae ขณะที่เกเตอร์(คำย่อของแอลิเกเตอร์) จัดอยู่ใน Alligatoridae 

F7BF66F0 76F5 42D4 97A7 67C034CC9FC3

ทั้งจระเข้และเกเตอร์ เป็นสัตว์เลือดเย็น ที่มีอุณหภูมิของร่างกายไม่คงที่คือจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม เป็นเหตุผลที่ว่าสัตสว์ทั้ง 2 มักอาศัยอยู่ตามบึงหรือแหล่งน้ำที่มีอุณภูมิเฉลี่ยประมาณ27 องศาเซลเซียส เพราะอุณหภูมิดังกล่าวจะทำให้มันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว (XinhuaThai)