แหนแดงพืชมหัศจรรย์…ใช้แทนปุ๋ยได้จริง???

แหนแดงพืชมหัศจรรย์ ? กระแสข่าวปุ๋ยแพงใช้แหนแดงแทนกำลังกลายเป็นประเด็นร้อนๆทางโลกออนไลน์ในเวลานี้

กระแสแหนแดงแรงขึ้นมาสุดๆเมื่อปุ๋ยราคาแพงมากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลายหน่วยงานต่างหนุนเกษตรกรใช้แหนแดงแห้งทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผัก ทึ่งให้ธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชตระกูลถั่ว ชูเป็นพืชมหัศจรรย์ตอบโจทย์ด้านเกษตรครบวงจร

แหนแดง (Azolla spp.) เป็นเฟิร์นน้ำขนาดเล็กพบอยู่ทั่วไป บริเวณน้ำนิ่ง มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ และอาหาร สัตว์ เนื่องจากในใบของแหนแดงมีสาหร่ายสีเขียวแกรมน้ำเงิน (Cyanobacteria) อาศัยอยู่ ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ทำให้แหนแดงเจริญเติบโตได้เร็วและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง แหนแดงสามารถสลายตัวได้ง่ายและปลดปล่อยไนโตรเจนและธาตุ อาหารพืชอื่นๆ ออกมาได้เร็ว จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงมีการนำ แหนแดงแห้งมาใช้เป็นแหล่งธาตุไนโตรเจนให้กับผักโดยเฉพาะผักรับประทานใบและลำต้น นอกจากนั้น แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ และมีศักยภาพสูงที่สามารถนำมาใช้ในระบบเกษตรพอเพียง เพื่อร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวเป็นอย่าง

ประโยชน์ของแหนแดง

  1. ทดแทน หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน
  2. ใช้ควบคุมวัชพืชในนำข้ำว ลดปริมาณการใช้แทนเคมีกำจัดวัชพืช
  1. ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนกำรผลิตลดลง
  2. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี หำกใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตราแนะนำสามารถเพิ่ม ผลผลิตข้ำวได้ประมาณ 15%
  4. สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผลอื่นๆได้
  5. สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ ปลา และสุกรได้
  6. มีต้นทุนการผลิตต่ำ

พันธุ์แหนแดงที่เหมาะกับไทย กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์แหนแดงสายพันธุ์อะซอลล่า ไมโครฟินล่า ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่าและสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 30 วันให้ผลผลิตแหนแดงสดถึง 3 ตัน/ไร่ และสามารถตรึงไนโตรเจนได้ถึง 5-10 กิโลกรัม/ไร่ โดยหลังจากแหนแดงย่อยสลายจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชได้อย่างรวดเร็ว

เอกสารของกรมวิชาการเกษตร บ่งชี้ว่า คุณสมบัติของแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตร เมื่อหว่านแหนแดงไปในนา 1 ไร่ จะมีผลผลิตแหนแดง 3,000 กก. (3 ตัน) เทียบได้กับปุ๋ยยูเรีย 7-10 กก. ซึ่ง เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้ำว

ที่ผ่านมาแหนแดงได้ถูกนำมาใช้ประโยน์เป็นปุ๋ยพืชสดเฉพาะในข้าวเพียงพืชเดียวเท่านั้นนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรจึงมีแนวคิดที่จะต่อยอดนำแหนแดงไปใช้ประโยชน์กับพืชอื่นให้หลากหลายชนิดมากขึ้น

ประกอบกับมีกระแสส่งเสริมเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ แหนแดงจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ตอบโจทย์การทำเกษตรอินทรีย์เพราะสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากเกษตรกรสามารถผลิตและขยายพันธุ์แหนแดงไว้ใช้ได้เองโดยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก โดย แหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัมสามารถใช้ในพื้นที่ปลูกผักประมาณ 2 ตารางเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรียแหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัม มีปริมาณธาตุอาหารเท่ากับปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 100 กรัม (1 ขีด)

แหนแดง เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ด้วยคุณสมบัติของการเป็นพืชปุ๋ยสด เหมาะสำหรับเกษตรกรสายเกษตรอินทรีย์

ส่วนเกษตรกรที่ต้องการพันธุ์แหนแดงหรือสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2 579-7523