“จุรินทร์”ส่ง“สินิตย์”ลุยแก้ปัญหาปาล์ม เผยเคยชงคณะกรรมการนโยบายปาล์มฯ ซึ่งมีบิ๊กป้อม เป็นประธานให้ช่วยอุดหนุนการส่งออก กก.ละ 2 บาท แต่ยังค้างอยู่จนถึงวันนี้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบคำถามเยาวชนที่มาร่วมทำกิจกรรมงานวันเด็กของพรรคประชาธิปัตย์ในโครงการ “ฟัง-คิด-ทำ” ตอน คิด-สร้างคน ซึ่งได้สอบถามถึงแนวทางการแก้ปัญหาราคาปาล์มว่า ไม่มียุคไหนที่ปาล์มราคาดีเท่ายุคนี้ ก่อนที่ตนและนายเฉลิมชัย เข้ามาปาล์ม กก.ละ 2 บาทกว่า แต่เราลืมไปแล้ว พอเราเข้ามาสุดท้ายก็แก้ปัญหาด้วยหลายมาตรการ ตั้งแต่

1. เรารู้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ปาล์มราคาตก เพราะมีการลักลอบนำเข้าปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้าน แล้วทำให้ปริมาณปาล์มในประเทศล้น ส่งผลต่อราคาปาล์ม ตนจึงได้สั่งการเพื่อห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มทางบก สามารถนำเข้าได้ทางเรือ และส่งไปต่างประเทศได้เฉพาะบางด่าน ทำให้การลักลอบนำเข้าลดลง ราคาปาล์มดีขึ้น

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99 11
ปชป. ส่ง“สินิตย์”ลุยแก้ปัญหาปาล์ม

2. เราสนับสนุนให้เกิดการผลิตปาล์มคุณภาพ

3. เราไปหาตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่คือ อินเดีย ตนนำคณะเอกชนไปขายน้ำมันปาล์ม 2 รอบ ทำให้ยอดส่งออกน้ำมันปาล์มเพิ่มหลายร้อยเปอร์เซนต์ ราคาก็ดีขึ้น ในช่วงหลังเมื่ออินโดนีเซียเริ่มส่งเสริมบ้าง ทำให้น้ำมันปาล์มอินโดแข่งขันในตลาดโลกดีขึ้น ราคาปาล์มในไทยขึ้นไป 9-10 บาท และราคาหย่อนลงเพราะอินโดปล่อยปาล์มโดยไม่ต้องเสียภาษี ทำให้เราแข่งขันได้น้อยลง ราคาจึงหย่อนมา แต่ก็ยังหย่อนมาที่ 7-6–5 บาท แต่ถ้าวันไหนราคาปาล์มต่ำกว่า 4 บาท เรายังมีประกันรายได้ ที่เป็นนโยบายของประชาธิปัตย์ ซึ่งเราจะชดเชยเงินส่วนต่างให้ได้ 4 บาท

“ไม่มียุคไหนที่ทำอย่างนี้ แต่ตอนนี้ราคาปาล์มหย่อนลง ผมได้เสนอไปแล้วว่า ขอให้คณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร เป็นประธาน ยังค้างอยู่จนวันนี้ ก็คือขอให้ช่วยอุดหนุนการส่งออก กก.ละ 2 บาท ซึ่งเราเคยทำแล้ว ควรจะทำต่อ ถ้าช่วยอุดหนุนส่งออก กก.ละ 2 บาท จะช่วยให้เราแข่งขันกับปาล์มอินโด ปาล์มอื่น ๆ ในตลาดโลกได้ และจะช่วยให้เราระบายปาล์มได้มากขึ้น ก็จะทำให้ราคาปาล์มขึ้นได้ แต่ก็ยังติดอยู่จนวันนี้”

ส่วนปัญหาปาล์มที่เกิดจากการที่โรงงานรับซื้อไม่ทัน เพราะมีปาล์มทะลักมามากนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตอนนี้ได้มอบให้รัฐมนตรีช่วย สินิตย์ เลิศไกร ลงไปแก้ปัญหาแล้ว โดยให้ลานเท โรงสกัด จะต้องรับซื้อปาล์ม ซึ่งเมื่อวานก็ดำเนินคดีไปแล้ว 1 ราย ตนได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ก็เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงไปได้บ้าง

ทั้งนี้สืบเนื่องจาก มีข่าวว่าลานเทรับซื้อปาล์มน้ำมันหลายจังหวัดทางภาคใต้ งดรับซื้อผลปาล์มน้ำมันจากเกษตรกร เช่นเดียวกับโรงงานก็ยังงดรับซื้อเช่นกัน ทำให้ที่จุดรับซื้อบางแห่ง ซึ่งยังเปิดรับซื้ออยู่นั้นได้มีรถบรรทุกผลปาล์มน้ำมัน ต้องเข้าคิวจอดรอขายอยู่หน้าโรงงานนับร้อยคัน แต่ราคาจะตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือแตกต่างจากราคารับซื้อของโรงงาน เพราะต้องซื้อในราคาที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากผลปาล์มน้ำมันค้างไว้ในลานเทนานเกินไป อาจทำให้น้ำหนักหายไป และผลผลิตอาจจะเน่าเสียหาย หรือคุณภาพลดต่ำลง ทำให้ต้องซื้อในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยขณะนี้ลานรับซื้อทั่วไปเหลือประมาณกิโลกรัมละ 3.40-3.50 บาท ในขณะที่โรงงานรับซื้อกิโกรัมละ 4.60-4.70 บาท โดยปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว เพราะโรงงานหยุดซ่อมเครื่องจักร จึงทำให้การเดินเครื่องผลิตทำได้ไม่เต็มที่ และเกษตรกรก็แห่กันเก็บผลผลิต จึงทำให้เกิดปัญหาล้นโรงงาน และส่งผลกระทบกับเกษตรกรดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ราคาปาล์มน้ำมันปาล์มในตลาดโลกปี 66 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันของไทยปรับลดตามไปด้วยแถมการส่งออกมีแนวโน้มลดลงทำให้สต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มสูงคาดปี 66 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.12 บาท ลดลงจากปี 65 ซึ่งอยู่ที่ 7.70 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มของตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงในปี 2566 เนื่องจากในปี 2564/65 มีผลผลิตน้ำมันปาล์ม 75.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 73.08 ล้านต้น ในปี 2563/2564 ร้อยละ 3.90 แหล่งผลิตปาล์มน้ำมันที่สำคัญของโลกได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย มีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยฝนตกอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของมาเลเซียเริ่มคลี่คลาย