กรมหม่อนไหมเร่งส่งเสริมอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มุ่งเพิ่มจำนวนเกษตรกรหม่อนไหมมากขึ้น

กรมหม่อนไหมเดินหน้าส่งเสริมอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สนับสนุนทายาทหม่อนไหมและเยาวชนคนรุ่นใหม่สืบทอดอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ดึงเกษตรกรรายเดิมและผู้สนใจเข้าสู่อาชีพด้านหม่อนไหมมากขึ้น ใช้นโยบายตลาดนำการผลิตเชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภค เพิ่มรายได้เกษตรกร แก้ปัญหาเกษตรกรลดลง มุ่งเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าหม่อนไหมมากขึ้นและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการผลิตสินค้าหม่อนไหมของไทยและในตลาดสากล

        

%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5
ประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม

นายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ภาคการเกษตรด้านหม่อนไหมเป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่สําคัญของประเทศไทย อย่างไรก็ดี เกษตรกรหม่อนไหมส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาในเรื่องการตลาด ขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ และขาดเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดตลาดรับซื้อที่แน่นอน ในขณะที่บางส่วนยังขาดวัตถุดิบในการผลิตสินค้าหม่อนไหม ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างต่ำและมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เกิดสภาวะการขาดแคลนแรงงานและมีสัดส่วนของ เกษตรกรสูงอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างภาคเกษตรมีเกษตรกรรายเล็กเป็นจํานวนมาก โดยที่รายได้รวมจากภาคเกษตรไม่เพียงพอกับการเลี้ยงครอบครัว ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลของเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาพบว่าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 มีเกษตรกรหม่อนไหมออกจากอาชีพแล้วกว่า 21,000 ราย เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ เป็นผู้ป่วยและผู้พิการ รวมถึงผู้ที่ต้องดูแลสมาชิกกลุ่มผู้เปราะบาง มากกว่าร้อยละ 40 สาเหตุหลักคือ    เพื่อลดและป้องกันการติดเชื้อโรคระบาดและเสียชีวิต โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีเกษตรกรหม่อนไหมเสียชีวิตกว่า 2,000 ราย   และกว่าร้อยละ 30 เป็นผู้ที่หันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นที่มีราคาสูงขึ้น อาทิ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพด และทุเรียน เป็นต้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามยูเครนและสหภาพโซเวียต ปัจจุบันมีเกษตรกรที่อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของกรมหม่อนไหม ประมาณ 65,000 ราย

         

ในสถานการณ์ดังกล่าว อธิบดีกรมหม่อนไหม จึงได้มอบนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุตรหลานของผู้สูงอายุ ทายาทหม่อนไหมหรือเยาวชนหันมาสืบทอดการประกอบอาชีพหม่อนไหม รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจหันมาประกอบอาชีพหม่อนไหมมากขึ้น เนื่องจากเป็นอาชีพที่สร้างรายได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น ทั้งยังสนับสนุนให้ผู้ที่ออกจากอาชีพไปแล้ว กลับมาประกอบอาชีพหม่อนไหมได้อีกเกือบ 1,000 ราย

ในขณะเดียวกันก็มีการวิจัยและพัฒนาวัสดุอุปกรณ์การทำงานด้านหม่อนไหมต่าง ๆ เพื่อรองรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ให้สามารถประกอบอาชีพด้านหม่อนไหมได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายตลาดนำการผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาใช้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่นการจัดการสัมมนาเชื่อมโยงตลาดเส้นไหมระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตเส้นไหมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ทอผ้าไหม ที่กรมหม่อนไหมเป็นตัวกลางในการประสานงานจับคู่ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตเส้นไหมและกลุ่มเกษตรกรผู้รับซื้อวัตถุดิบ ที่จะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพไปทอผ้าไหมในราคาที่เป็นธรรม เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเส้นไหมไม่เพียงพอกับความต้องการในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิต ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการผลิตสินค้าหม่อนไหมของไทยและในตลาดสากล

         

“กรมหม่อนไหมมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกให้มากที่สุด เพื่อให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี มีความแน่นอนและความมั่นคง เกษตรกรมีศักยภาพ มีศักดิ์ศรี   มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเอง ดูแลครอบครัวและชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป” อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าว

MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image
MOAC Image