รมว.ศึกษาฯ ห่วง”วิทยาลัยเกษตร” เด็กลดฮวบ ย้ำผู้บริหารสถานศึกษา สอนเด็กเป็น “เกษตรกรสมัยใหม่”

1 สิงหาคม 2565 ห้องปทุมมาศ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษ “การขับเคลื่อนการอาชีวศึกษากับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อติดตามผลการดำเนินและยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาทุกมิติโดยใช้พื้นที่เป็นฐานประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมีนายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการ กอศ. ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สอศ. กว่า1,300 คน เข้าร่วม

line album e0b8a3e0b8a1e0b8a7.e0b895e0b8a3e0b8b5e0b899e0b8b8e0b88a e0b8ade0b8b2e0b88ae0b8b5e0b8a7e0b8b0 e0b992e0b992e0b990e0b998e0b990e0b991 10
ห่วง วิทยาลัยเกษตร เด็กลดฮวบ

ตรีนุช กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ตนเป็นห่วงจำนวนผู้เรียนในหลายวิทยาลัยลดลงโดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่เด็กของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในหลายพื้นที่น้อยลง ซึ่งตนได้หารือกับผู้บริหารส่วนกลางว่า ในภาคการเกษตรขอให้เน้นเรื่องSmart Farming มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้เด็กเห็นว่าการเกษตรสมัยใหม่ไม่ได้ไปตรากตรำเหมือนในอดีต ให้ผลผลิตมาก ใช้เงินน้อย ต้นทุนต่ำ และยังได้สร้างเครือข่ายวิทยาลัยเกษตรอื่น ที่มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ด้วย

สำหรับวิทยาลัยเกษตรกรรม จัดตั้งขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างนักเกษตรกรรมที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะด้านทักษะวิชาชีพเกษตร มีการจัดการเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาเกษตรทั่วไป เน้นให้มีความรู้พื้นฐานของเกษตรในด้านต่าง ๆ เช่น พื้นฐานด้านพืช พื้นฐานด้านสัตว์ และพื้นฐานด้านประมง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีการจัดการเรียนการสอนแยกเป็นประเภทวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาช่างกลเกษตร ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาวิชาการจัดการประมง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทักษะและความชำนาญในวิชาชีพมากยิ่งขึ้น พร้อมออกไปเป็นนักเกษตรที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามา

วิทยาลัยเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในปีการศึกษา2539 ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ปี2538 และ ทำโครงการเกษตรเพื่อชีวิต เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการของนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทุกแห่ง จะเป็นสมาชิก องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ในแต่ละปีสมาชิกทุกหน่วยจะมีการประชุมวิชาการทั้งระดับ หน่วย เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขัน ระดับภาคและระดับชาติ

โดยแต่ละ “วิทยาลัยฯ” จะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในระดับชาติจะหมุนเวียนจัดงานทั้ง 4 ภาค โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศีรษะเกษ เป็นครั้งแรก ตามด้วย ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลางตามลำดับ ซึ่งในปีการศึกษา 2552 จะเป็นการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 31 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น และในงานประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ได้รับพระกรุณาจากองค์อุปถัมภ์เสด็จทรงเป็นประธานทรงเปิดงานทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังในให้นักเรียน-นักศึกษาเกษตรมีความภาคภูมิในวิชาชีพเกษตรและสืบทอดพระดำริด้านการเกษตรขององค์อุปถัมภ์ต่อไป

ประเทศไทยมีวิทยาลัยด้านการเกษตรและการประมงที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 47 แห่ง การแบ่งภาคของวิทยาลัยฯ แบ่งเป็น 4 ภาค คือ วิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคเหนือ วิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคกลางและวิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคใต้