เกษตรฯเตรียมผลักดัน จ.พังงา สู่ ”ครัวอันดามัน” 

รัฐมนตรีเกษตรฯ นำทีมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานและรับฟังปัญหาของชาวจังหวัดพังงา เตรียมความพร้อมทั้งในภาคการเกษครและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มุ่งหวังให้จังหวัดพังงา เป็น”ครัวของอันดามัน”

       ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สถานการณ์และผลการดำเนินงานภายใต้พรบ.พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยในจังหวัดพังงา การพัฒนาแหล่งน้ำ และการดำเนินงานด้านประมงจังหวัดพังงา พร้อมพบปะและรับฟังปัญหาเกษตรกรในพื้นที่ โดยมีนางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณสหกรณ์การเกษตรตะกั่วป่า จำกัด หมู่ที่ 9 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

F3F6F379 61DF 4B58 821A 9DE79D39B056

     ทั้งนี้ จังหวัดพังงามีการปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัด มีพื้นที่สวนยางทั้งหมด678,564 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 138,073 ตัน/ปี ปัจจุบันการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางใหม่และปรับปรุงทะเบียนเดิม เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินสวนยาง ได้รับสิทธิตาม พรบ.การยางแห่งประเทศไทยพ.ศ.2558 ตามประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย อย่างทั่วถึงโดยได้จัดทำสมุดทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง(สมุดเหลือง) มอบให้ประจำตัวเกษตรกรชาวสวนยางทุกราย 

    ซึ่งมีเกษตรกรชาวสวนยางขึ้นทะเบียนกับ กยท. แล้ว 21,506 ราย เนื้อที่ 346,552 ไร่ และคนกรีดยางจำนวน 2,698 ราย เป็นเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ 18,058 ราย เนื้อที่ 287,728 ไร่ เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 2,851 ราย เนื้อที่ 42,236 ไร่ และเป็นเกษตรกรที่ถือครองทั้งพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน 597 ราย เนื้อที่ 16,588 ไร่

C9E948C8 C637 44B6 8DA0 37B63B8AAACC

     นอกจากนี้ การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพังงา ได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในโครงการส่งเสริมการทำสวนยางพาราในรูปแบบแปลงใหญ่ จำนวน 8 แปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – 2565 อีกทั้งยังส่งเสริม สนับสนุน ให้การปลูกแทน ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยมาตรา 49(2) ด้วยยางพันธุ์ดี ไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการปลูกสร้างสวนยางอย่างยั่งยืน เน้นการปลูกสร้างสวนยางแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มรายได้จากผลผลิตอื่นนอกจากยางพาราตามเป้าหมายปีงบประมาณ 2565 จำนวน 5,900 ไร่

767672F3 0CD6 47AF 93C9 4E1E31361065

     ในส่วนของกรมชลประทาน ได้พัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่จังหวัดพังงา เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร และการท่องเที่ยว ที่เป็นรายได้หลักของจังหวัด รวม 166 โครงการพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 60,960 ไร่ แบ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก 151 โครงการ โครงการพระราชดำริ ได้แก่ ฝายทดน้ำ 7 แห่ง อาคารอัดน้ำอีก 3 แห่ง และโครงการชลประทานขนาดกลาง เป็นฝายทดน้ำอีก 5 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้มีโครงการการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำทั้งที่กำลังปรับปรุงและปรับปรุงแล้วเสร็จหลายโครงการ รวมถึงมีแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติมระหว่างปี 2566 – 2570 ด้วย

F202E789 E88C 42A7 B92F 8B8185B293D0

     ส่วนของการดำเนินงานด้านประมง จังหวัดพังงา มีกิจกรรมการดำเนินงาน ทั้งการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนถิ่น กิจกรรมการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม และการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ ที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชายฝั่ง นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งทะเล และFisherman Shop และ Fisherman Marker เป็นต้น

     สำหรับกิจกรรมภายในงานได้มีการมอบสมุดเหลืองให้ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนใหม่ มอบต้นกระท่อมให้กับตัวแทนเกษตรกร มอบเวชภัณฑ์ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (จำนวน60 ชุด)ให้กับผู้แทนกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 ราย มอบพันธุ์กุ้งก้ามกราม ขนาด 5 – 7 เซนติเมตร จำนวน100,000 ตัว ให้กับตัวแทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตอำเภอกะปง อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จำนวน 50 ราย รายละ 2,000 ตัว 

52BC9C36 8B66 486D 9421 0AC05AE8B48C

     มอบพันธุ์ปลาตะเพียน ขนาด 3 – 5 เซนติเมตร จำนวน 200,000 ตัว และพันธุ์ปลาสุลต่าน ขนาด 3 – 5 เซนติเมตร จำนวน 50,000 ตัว ให้กับตัวแทนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตอำเภอกะปง อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จำนวน 50 ราย รายละ 5,000 ตัว มอบพันธุ์กุ้งก้ามกราม ขนาด 5 – 7 เซนติเมตร จำนวน 50,000 ตัว เพื่อนำไปปล่อยให้กับผู้นำชุมชนอำเภอกะปง จำนวน 3 ชุมชน และผู้นำชุมชนอำเภอคุระบุรี จำนวน 3 ชุมชน และมอบพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ขนาด 3 – 5 เซนติเมตร จำนวน150,000 ตัว เพื่อนำไปปล่อยให้กับผู้นำชุมชนอำเภอตะกั่วป่า จำนวน 1 ชุมชน ผู้นำชุมชนอำเภอกะปงจำนวน 3 ชุมชน และผู้นำชุมชนอำเภอคุระบุรี

     “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในภาคการเกษครและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มุ่งหวังให้จังหวัดพังงาเป็นครัวของอันดามัน ยืนยันพร้อมแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวพังงาอย่างเต็มความสามารถ” ดร.เฉลิมชัย กล่าว