แปลงใหญ่จิ้งหรีดในเขตปฏิรูปที่ดิน จ.ขอนแก่น

แมลงเศรษฐกิจมีความสำคัญมากขึ้นทั้งในด้านสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตแหล่งโปรตีนที่ดีให้กับมวลมนุษย์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นอาหารแห่งอนาคต Future Food และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หลายฝ่ายให้ความสำคัญกับแมลงเศรษฐกิจ โดยนำแมลงเศรษฐกิจเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรที่มีอนาคต ตามแผนแม่บทย่อยเกษตรชีวภาพ ของยุทธศาสตร์ชาติ และได้มีการจัดทำมาตรฐานรับรอง GAP สำหรับรองรับการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร ทั้งในเรื่องของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่

15327E93 BE54 4C77 A540 43E9C404C62E scaled

ปัจจุบันมีฟาร์มจิ้งหรีดทั่วประเทศ  กลุ่มแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงแมลง และฟาร์ม GAP จิ้งหรีด ประกอบด้วย กลุ่มแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงแมลงจำนวน 19 แปลง ใน 11 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น 7 แปลงใหญ่ สระแก้ว 2 แปลงใหญ่ บุรีรัมย์ 2 แปลงใหญ่ พิจิตร 2 แปลงใหญ่ มหาสารคาม 1 แปลงใหญ่ นครพนม 1 แปลงใหญ่กาฬสินธุ์ 1 แปลงใหญ่ สุโขทัย 1 แปลงใหญ่พิษณุโลก 1 แปลงใหญ่ ลพบุรี 1 แปลงใหญ่ และชัยภูมิ 1 แปลงใหญ่

ฟาร์มจิ้งหรีดมาตรฐาน GAP จำนวน 43 ฟาร์ม ใน 16 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น 21 ฟาร์ม  นครราชสีมา 5 ฟาร์ม อุตรดิตถ์ 3 ฟาร์ม พิษณุโลก 2 ฟาร์ม ลพบุรี 1 ฟาร์ม สิงห์บุรี 1 ฟาร์ม นครนายก 1 ฟาร์ม  ชัยภูมิ 1 ฟาร์มยโสธร 1 ฟาร์ม กาฬสินธุ์ 1 ฟาร์ม อุดรธานี 1 ฟาร์ม  เชียงใหม่ 1 ฟาร์มน่าน 1 ฟาร์ม สุโขทัย 1 ฟาร์มราชบุรี 1 ฟาร์ม และสุพรรณบุรี 1 ฟาร์ม

จังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ในการผลิตจิ้งหรีดทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำที่สมบูรณ์แบบแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยปัจจุบันมีฟาร์มจิ้งหรีดทั้งสิ้น 376 ฟาร์ม และมีเกษตรกรเข้าร่วมระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 7 แปลง ประกอบด้วยพื้นที่ อ.เมืองขอนแก่น, น้ำพอง, โนนศิลา, พล, อุบลรัตน์ และพระยืน โดยมีฟาร์มจิ้งหรีดผ่านมาตรฐานฟาร์ม GAP จำนวน 23 ฟาร์ม 

05DDF2BF CAE2 48CF AF45 5CF6F8858AF1 scaled

โดยมีผลผลิตจิ้งหรีด 490 ตันต่อปี ซึ่งขณะนี้มีฟาร์มจิ้งหรีดที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงฟาร์มเพื่อเข้าสู่มาตรฐานการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP อีกจำนวน 49 ฟาร์ม โดยมีศูนย์รวบรวมจิ้งหรีดตัวสดและต้มบรรจุถุงแช่แข็ง รวม 2 ศูนย์ และมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ อ.น้ำพอง และวิสาหกิจชุมชนคนค้นแมลง อ.ชุมแพ เพื่อขยายขอบเขตความสามารถกับเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง

F4CCA85B 5AE6 4B2C A303 2A2C7CDF6D66 scaled

คุณภูดิส หาญสวัสดิ์ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ยึดอาชีพการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ได้รวมกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีด หมู่ 11 ต.บ้านหัน อ.โนนศิลา จังหวัดขอนแก่น เพื่อสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

“เบื้องต้นชาวบ้านชุมชนเลี้ยงกันอยู่ก่อนแล้ว แต่ว่าเลี้ยงใครเลี้ยงมันไม่ได้มีสูตรไม่ได้มีวิธีการหรือรอบในการเลี้ยง ใครพร้อมที่จะขายก็มีพ่อค้าเร่พ่อค้าคนกลางมาเรียกไป หลังจากมีการรวมกลุ่ม ปัจจุบันตามทะเบียน 33 ราย แต่ว่าที่เลี้ยงจริงๆอยู่ประมาณ 40 ราย เรามีการแบ่งเป็นทีมทั้งหมดเป็น 3 ทีม เพื่อที่ว่ามันจะมีในเรื่องของการจัดการ โดยเฉพาะในตอนที่เก็บเกี่ยวหรือจับผลผลิตขาย ถ้าทั้ง 3 ทีมหรือว่า 40 ราย เลี้ยงแล้วผลผลิตออกพร้อมกัน มาในวันเดียวกัน 4 ตัน จะลำบาก

306DAEAE A81D 4FFE 8E75 35A7136A105A scaled

ในการจัดการในเรื่องของการส่งขาย เราเลยมีการประชุมกันและมีการจัดแบ่งทีมครับ แบ่งทีมตั้งแต่กำหนดว่ากลุ่มที่หนึ่งเลี้ยงวันที่ 1 กลุ่มที่สองเลี้ยงวันที่ 10 กลุ่มที่สามเลี้ยงวันที่ 20 แบ่งแบบนี้ เพราะว่าระยะเวลาในการเลี้ยงมันก็จะลำดับกันไป เพราะว่าเราขายเราจะรวมกันขาย กลุ่มนึงผลผลิตก็จะใกล้เคียงกัน การส่งขายจะไม่ใช่เป็นปริมาณมากเกินกว่าที่เราจะจัดการได้ สำคัญเลยคือกลุ่มจะมีสินค้าส่งขายให้กับคู่ค้าหรือว่าให้กับผู้ซื้ออย่างต่อเนื่องตลอด ไม่ใช่ว่าขายรอบนี้เสร็จอีก 2 เดือนเจอกัน อีก 45 วันเจอกันที่กลุ่มจะมีสินค้าออกตลอด ก็จะมีการจัดการแบบนี้ครับ”

การรวมกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีดส่งผลให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีแผนการดำเนินงานและการจัดการการผลิต ซึ่งเกษตรกรได้นำหลักการตลาดนำการผลิต มีการคุยกับตลาดก่อน ที่สำคัญคือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

“ต้องขอบคุณสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน จ.ขอนแก่น จริงๆแล้วทาง ส.ป.ก.ขอนแก่นสนับสนุนไม่ว่าจะไปในส่วนผม ในส่วนของชุมชนมาตลอด ตั้งแต่ผมมาทำเกษตรที่นี่ ผมเองก็เป็นอาสาสมัครปฏิรูปที่ดินจ.ขอนแก่น เป็น อสปก.ด้วย ส.ป.ก. สนับสนุนมาตั้งแต่ปลูกผัก เลี้ยงปลาตั้งแต่ทำเห็ดมาตลอด 

ในส่วนของ ส.ป.ก.ขอนแก่น เขามีการให้ความรู้ในเรื่องของข้อมูลอาชีพเกษตรต่างๆ ให้เกิดการปรับเปลี่ยน ให้เป็นทุนในการทำอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงจิ้งหรีดและสะดิ้งหรือการเลี้ยงแมลง ส.ป.ก.ก็ให้ข้อมูลให้การอบรมสนับสนุนส่งเสริมตรงนี้มาโดยตลอด ให้เกิดเป็นอาชีพที่จะสามารถก่อให้เกิดเป็นรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ให้ได้ผลเร็ว ได้รายได้ในระยะเวลาอันสั้นส.ป.ก.ก็ให้การสนับสนุนมาโดยตลอดครับ”