ฟอสซิล 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง ‘แมลงวางไข่-แมลงล่าไข่’ ในใบไม้

คณะนักวิทยาศาสตร์จีนเปิดเผยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนซากฟอสซิลพืชจากภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์แมลงที่มีชีวิตอยู่เมื่อราว 200 ล้านปีก่อนได้วางไข่บนใบไม้ และมีแมลงชนิดอื่นๆ มากินไข่เหล่านี้

พฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช

เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และทีมงาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว ได้เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน(เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

857A46A3 29B6 40CD B58A E783E272EA62

ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ

เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ

82D0D6D6 AE18 48FF 86FA 95320DE5C455

“การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” เฝิงกล่าว

การค้นพบนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อวันอังคาร (8 พ.ย.) ที่ผ่านมา

1348BA74 BC38 430E B0E8 535D4CD7D336

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว (XinhuaThai)