พล.อ.ประวิตร เร่งแผนพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อน เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำเมืองขอนแก่น

วันที่ 6 ก.พ.66 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการแก้มลิงแก่งน้ำต้อน พร้อมอาคารประกอบ (ระยะที่ 1) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเดช เล็กวิชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ นายชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 นายพงศ์กรณ์ กำแหง ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 6 และผู้เกี่ยวข้อง บรรยายสรุปความก้าวหน้าและร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้

328514072 729965198534996 8379149158724974897 n
เร่งแผนพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อน

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการแก้มลิงแก่งน้ำต้อน พร้อมอาคารประกอบ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการแก้มลิงขนาดใหญ่ และเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแก้มลิงสองฝั่งลำน้ำชี โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น พร้อมวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่เดิมให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้นและช่วยป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่นเนื่องจากแหล่งน้ำเดิมมีสภาพตื้นเขิน ในช่วงฤดูน้ำหลากมักเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณโดยรอบหนองน้ำ ขณะเดียวกันในช่วงฤดูแล้งก็มักจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไม่มีอาคารบังคับน้ำ จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ ซึ่งมีแนวโน้มการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

328908951 2423212741161147 761940563858141453 n
โครงการพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อน

สำหรับโครงการแก้มลิงแก่งน้ำต้อน พร้อมอาคารประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง มีแผนดำเนินงานปี พ.ศ.2564-2569 เป็นการขุดลอกแก้มลิงพร้อมอาคารประกอบ เพื่อเพิ่มความจุเก็บกักน้ำจากเดิม 7.43 ล้าน ลบ.ม. เป็น 35.02 ล้าน ลบ.ม. รวมก่อสร้างอาคารบังคับน้ำอีก 6 แห่ง พร้อมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอนาคต ส่วนในระยะที่ 2 มีแผนการก่อสร้างปี พ.ศ.2568-2570 เป็นงานก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานประมาณ 35,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 3 อำเภอ ได้แก่ ตำบลเมืองเก่า ตำบลดอนช้าง ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง, ตำบลขามป้อม ตำบลพระยืน ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน และตำบลบ้านเหล่า อำเภอฝาง ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการ จะเป็นแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญของลำน้ำชี ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และมีน้ำสนับสนุนการเพาะปลูกสำหรับพื้นที่การเกษตรได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่นได้มากขึ้น

ด้านรองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งรัดแผนพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อนให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อให้พี่น้องประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์โดยเร็ว พร้อมกำชับให้ดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

329251267 724258812665199 8687535220742449830 n.jpg?stp=dst jpg p480x480& nc cat=101&ccb=1 7& nc sid=8bfeb9& nc eui2=AeFPsk275il2HFJrSFOKTR1mSIH6S3ZEgiJIgfpLdkSCIuDlbHXD1yRZFLVSIjXPzrxwocSHLZB2nmrfNB5UmZ71& nc ohc=LgCSJGnRlAAAX 36r5B& nc ht=scontent.fbkk12 1
เร่งแผนพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อน

328251093 492115796458763 7419925610595546937 n.jpg?stp=dst jpg s600x600& nc cat=100&ccb=1 7& nc sid=8bfeb9& nc eui2=AeHeAMVkEZMDLLnZ9rSyXtQ0ldkTa7NvRcGV2RNrs29FwZqktj8NmPy72uuhnbsW Tn2iH7gyn0HmTiUB1YO4hVZ& nc ohc=ne9Fd8OaXDYAX9MqVap& nc ht=scontent.fbkk8 4
เร่งแผนพัฒนาแก้มลิงแก่งน้ำต้อน

กรมชลฯ ประชุมติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ

วันเดียวกัน (วันที่ 6 ก.พ. 66) ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่1-17และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไป

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (6 ก.พ. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 57,038 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 17,945 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุอ่างฯ ภาพรวมปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ดี จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 65/66 ทั้งประเทศไปแล้ว 12,254 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของแผนฯ (แผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศ 27,685 ล้าน ลบ.ม.) เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 4,200 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของแผนฯ (แผนจัดสรรน้ำลุ่มเจ้าพระยา 9,100 ล้าน ลบ.ม.)

ด้านผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศมีการเพาะปลูกไปแล้ว 8.47 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 5.82 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนฯ สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการปรับปฏิทินการเพาะปลูกเพื่อเลี่ยงผลผลิตเสียหายในฤดูน้ำหลากนั้น ปัจจุบันเพาะปลูกเต็มพื้นที่แล้ว คาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด

ทั้งนี้ได้กำชับให้โครงการชลประทาน และสำนักเครื่องจักรกลในพื้นที่ตอนบนที่อยู่ในช่วงฤดูเพาะปลูก หมั่นตรวจสอบอาคารชลประทาน ระบบส่งน้ำ รวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องจักร ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรได้เพาะปลูกอย่างทั่วถึง ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วน ร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อทุกกิจกรรมไปตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้นั้น กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ จึงได้กำชับไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ พร้อมปฏิบัติตามมาตรการรับมือฤดูฝนที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถแทรกเตอร์ รถขุด และอื่น ๆ เข้าประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยง รวมไปถึงการกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ พร้อมทั้งรักษาระดับน้ำใต้ดินในพรุให้สมดุล เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในพื้นที่ รวมทั้งควบคุมค่าความเค็มในทะเลสาบสงขลาไม่ให้เกินค่ามาตราฐานที่กำหนด ที่สำคัญให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด